คนรุ่นใหม่กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ;New Generation and Sustainable Local Development

Main Article Content

ชนินทร์ วะสีนนท์

บทคัดย่อ

คนรุ่นใหม่มีความสำคัญต่อการดำรงคงอยู่ของท้องถิ่นอย่างสูงยิ่ง ทั้งนี้เพราะคนรุ่นใหม่จะเป็นผู้สืบทอดแนวคิดการทำเกษตร
ผสมผสาน เพื่อการพึ่งตนเอง และสามารถนำไปสู่การพึ่งพาอาศัยกันในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ทำการศึกษา
เงื่อนไขปัจจัยของการดำรงอยู่ของคนรุ่นใหม่ในเครือข่ายอินแปง เพื่อสร้างแบบจำลองขึ้น และในปี พ.ศ. 2552 ได้นำแบบจำลองไปสู่
กระบวนการสรรค์สร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อให้สามารถอยู่กับท้องถิ่นนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนได้ และในปี พ.ศ. 2553 ทำการ
ประเมินผลโครงการ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสังเกตอย่างมี
ส่วนร่วม (Participant observation) และใช้กระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนเอง จากการจัดเวทีผ่านการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และ
การนำเสนอผลงานจากคนรุ่นใหม่ที่ผู้นำเครือข่ายอินแปงเป็นผู้คัดสรรกระจายครอบคลุม 3 จังหวัด คือ สกลนคร กาฬสินธุ์ และ
อุดรธานี จำนวน 70 คน ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่สร้างขึ้นได้ถูกนำไปใช้สร้างกระบวนการสรรค์สร้างคนรุ่นใหม่ให้สามารถ
อยู่กับท้องถิ่นได้มีจำนวน 33 คน ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามมา เกิดความเชื่อมั่นต่อการอยู่กับท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่
สามารถสร้างความอบอุ่นในครอบครัวได้ มีการดูแลจัดการทรัพยากรของตนเองได้ และจากการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
พบว่าเป็นโครงการที่สมควรลงทุน

The new generation has become an important role for the local existence because they will inherit
the ideas of integrated farming for self-reliance and for mutual reliance in the future. This research was
conducted in 2008 to study the condition of factors of existence of the new generation for In-Pang network
and in order to create its model. In 2009 the model was brought to build up the new generation to be able
to live in local areas. This could lead to sustainable development. In 2010 the project evaluation was done
by means of qualitative data through in-depth interview, participant observation and community learning
process from the collaborative learning forum. Also, the work presentation was done by 70 new generation
people selected through the net work leaders in 3 provinces: Sakon Nakhon, Kalasin and Udon Thani. The
results of the study revealed that the created model was brought to the process creation for living in local
areas of 33 new generation people. This could lead community economic development and being confident
for living in local areas of the new generation. This also could create family warmth and manage resources
themselves. In addition, the cost of effectiveness was assessed to signify that the project was deserved for
investment.

Article Details

บท
บทความวิจัย