การพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนยางอู้มวิทยาคาร อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์; Development of Living Library, Yangoomwitayakharn School, Thakhantho District, Kalasin Province.

Main Article Content

พิกุล วิเท่ห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต เพื่อพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดมี
ชีวิต และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนยางอู้มวิทยาคาร อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้
หลักการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart โดยดำเนินการเป็น 1 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน
(Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย (Research participants)
จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) จำนวน 85 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 2 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ประเภท ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้
เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation technique) และนำเสนอผลการวิจัยในรูปความเรียง ข้อมูลเชิงปริมาณทำการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาก่อนการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนยางอู้มวิทยาคาร ได้ดำเนินงานห้องสมุดโดยใช้คู่มือ
“การดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต” และยึดมาตรฐานห้องสมุดมีชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแนวทาง ซึ่ง
ห้องสมุดมีการจัดทรัพยากรสารสนเทศให้บริการแก่คณะครูและนักเรียน แต่มีไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
ผู้ใช้ขาดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสารสนเทศท้องถิ่นที่หลากหลาย การจัดหมวดหมู่หนังสือยังไม่เป็นระบบเข้าใช้สืบค้นได้ยาก
มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องงานห้องสมุดโดยเฉพาะบรรยากาศไม่ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ การจัด
กิจกรรมส่งเสริมการอ่านไม่หลากหลาย ผู้รับบริการขาดความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมของห้องสมุด กิจกรรมที่จัดไม่ส่งเสริมความ
ร่วมมือระหว่างครู นักเรียน โรงเรียน และชุมชน ทั้งนี้เนื่องจากคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสม
2. การดำเนินการพัฒนา หลังการดำเนินการตามกลยุทธ์ของการวิจัย ได้แก่ เทคนิคการจัดกลุ่มสนทนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การศึกษาดูงาน และการนิเทศเชิงให้คำปรึกษา พบว่า
2.1 มาตรฐานด้านผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารสามารถส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด
การบริหารจัดการมีความเป็นปัจจุบันทั้งในการปฏิบัติงานจริงและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนของวิธีการ
ปฏิบัติ และมีการปฏิบัติจริงที่สอดคล้องกับนโยบายและรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ

2.2 มาตรฐานด้านครู พบว่า ครูบรรณารักษ์มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต สามารถปฏิบัติงานเทคนิค
ได้อย่างเหมาะสม สามารถให้บริการงานห้องสมุดจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านได้
อย่างหลากหลาย ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอนและใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ มีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่
นักเรียน
2.3 มาตรฐานด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน
2.4 มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า มีทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ และทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุไม่ตีพิมพ์ในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
3. การประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้รับบริการห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนยางอู้มวิทยาคารมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ โดย
รวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

The research aimed to study the present state and problems of the living library operation, to develop
its operation, and study the clientele’s satisfaction with the services given by the living library of Yangoomwitayakharn
School, Thakhantho District, Kalasin Province. The research employed the principles of action
research as designed by Kemmis and McTaggart which comprises the following loops: planning, action,
observation, and reflection. The researcher and 30 research participants conducted the research with assistance
of 85 key informants and 2 additional informants. The instruments consisted of 4 types: interview form,
observation form, evaluation form, and record. The triangulation technique was employed in the analysis
of the qualitative data and the research presentation was in a descriptive form. The quantitative data were
analyzed by a computer program and the statistics used were mean and standard deviation.
The results are as follows:
1. In terms of the state and problems of the living library of Yangoomwitayakharn School before the
development, the library operation followed the handbook called “Living Library Operation” and adhered
to the standard guidelines of the living library issued by the Office of the Basic Education Commission.
The library provided its information resources for all teachers and students. However, the services were
inadequate and were not relevant to the users’ needs. The users did not help conserve the various local
wisdoms and information. Classification of books was not yet systematic and thus difficult for the users
to retrieve. The library workers lacked the knowledge of library work. Particularly, the atmosphere did not
enhance reading and learning, lacking a variety of activities organized to promote reading. The clientele
did not get involved in the library activities. The activities did not promote cooperation among the teachers,
students, and the community. All these problems were caused by the operation of the committee who lacked
the knowledge of their roles and responsibilities; they had no development and suitable management.
2. In terms of development, after using the research strategies which were composed of focus groups,
a workshop, a study tour, and an advisory supervision, it was found that :Standard Category 1 : Administrator It was found that the administrator was able to promote
relations and cooperation with the community in the development of the library. The management was up to
date; the practical work and all the documents could be inspected in all steps of the procedure. The practical
work was congruent with the policy. Reports were made regularly and continuously.
Standard Category 2 : Teachers. It was found that the librarian had the knowledge and understanding
of library work. The librarian was able to carry out the living library work and technical work appropriately.
The librarian was able to provide various services and organize various activities to promote learning, teaching
and good learning habit. The teachers used the library in their teaching as a source of learning. The teachers
promoted students’ good reading habit.
Standard Category 3 : Students. It was found that the students were able to perceive, access, and
make use of information effectively. They loved to learn and had good reading habits.
Standard Category 4 : Information Resources. It was found that there were proper numbers of
printed materials and non-printed materials that were congruent with the curriculum and the users’ needs;
the level of suitability was highest.
3. In terms of satisfaction, the users’ overall satisfaction with the services given by the library of
Yangoomwitayakharn School was in the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย