ผลการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเว็บเควสท์ เรื่อง การวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;The Learning Outcomes Taught Using the Web-Quest Courseware Entitled Introduction to

Main Article Content

ปนัดดา แก้วไสย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบเว็บเควสท์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนี
ประสิทธิผลของบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เพื่อ
เปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ ประการที่สอง เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์
ของนิสิตปริญญาตรีที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ และประการที่สาม เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนด้วยบท
เรียนแบบเว็บเควสท์ เรื่อง การวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปี
ที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0503 403 การ
วิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ได้มาจากการสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic
sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแบบเว็บเควสท์, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบทดสอบวัดการ
คิดวิเคราะห์ แบบทดสอบย่อยประจำหน่วยการเรียนรู้ แบบสอบถามวัดปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน แบบวัดความพึงพอใจของนิสิตต่อการ
เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
สมมุติฐานใช้ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนแบบเว็บเควสท์ เรื่อง การวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ
77.95/70.36 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5777 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 57.77
2. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ หลัง
เรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ มีปฏิสัมพันธ์โดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก และมีความพึง
พอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

The purposes of this study wes to develop a Web-Quest course for developing analytical thinking
with a required efficiency of 80/80, to create the ideas to indicate an effective index of the Web-Quest
courseware for developing analytical thinking ability, to compare learning achievement before and
after using the Web-Quest courseware, and to examine interactions of undergraduate students who
learned using the Web-Quest courseware, and examine students’ satisfaction level using the Web-Quest
courseware. The sample used in the study consisted of 50 third-year undergraduate students who
enrolled in Course 0503403: Introduction to Educational Technology and Communication Research in
the Educational Technology and Communication Program, Faculty of Education, Mahasarakham
University in the first semester of the academic year 2009. The instruments used in the study were:
a Web-Quest courseware, an achievement, a test of analytical thinking, quizzes, a 20-item questionnaire
on learner’s interactions and a scale on the student’s satisfaction with learning using the courseware.
The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation; and t-test (dependent
samples) was employed for hypotheses testing.
The study findings were as follows:
1. The developed Web-Quest courseware had an efficiency of 77.95/70.36 and an effectiveness
index of 0.5777, showing that the learners progressed their learning at 57.77 percent.
2. The students who learned using the Web-Quest courseware had a higher posttest mean scores
on learning achievement and analytical thinking than before learning at the .01 level of significance.
3. The students who learned using the Web-Quest instruction showed their interactions in all the
5 aspects were at a high level; and they also showed their satisfaction with learning using the Web-
Quest instruction as a whole at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย