การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิด กับการ เรียนตามคู่มือครู ที่มีผลต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับ มโนมติชีววิทยา : การเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง และความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ และการคิดเชิ

Main Article Content

บุญญารัตน์ บุตรทา
จีระพรรณ สุขศรีงาม
มยุรี ภารการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการ
รู้คิดกับการเรียนตามคู่มือครู ที่มีต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา : การเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง
และความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียน
วิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยแบ่งออกเป็น 2
กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียน
ตามคู่มือครู จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์
ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิดและแผนการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู อย่างละ 3 แผน ใช้เวลาเรียน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง และ
แบบทดสอบ 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติการเจริญเติบโตของพืช 5 ข้อ การสังเคราะห์ด้วยแสง 6 ข้อ
และความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ 5 ข้อ และแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 5 ด้าน มี 40 ข้อ สถิติที่
ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Chi-Square test, Paired t-test, และ F-test (Two-way ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนโดยส่วนรวม และจำแนกตามผลการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดย
ใช้เทคนิคการรู้คิด มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์มากกว่า แต่มีแนวความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับมโนมติการเจริญเติบโตของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสง ความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์น้อยกว่า นักเรียนโดยส่วนรวม และจำแนกตามผลการเรียน
วิทยาศาสตร์ ที่เรียนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิดมีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นราย
ด้านทั้ง 5 ด้าน มากกว่านักเรียนที่เรียนตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูง มีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นรายด้านมากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียน
วิทยาศาสตร์ตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนวิทยาศาสตร์กับรูปแบบการเรียนต่อการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งโดยรวมและรายด้านของ
นักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย