การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติฟิสิกส์ : การสะท้อนของแสง การหักเหของแสงและการเห็น และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการเรียน

Main Article Content

สุนจรี ศรีบุตตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการ
รู้คิดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติฟิสิกส์ : การสะท้อนของแสง การหักเหของแสงและการเห็น และ
การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ต่างกัน จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากเทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster random sampling) และแบ่งเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์สูง จำนวน 22 คน และนักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์
ตํ่า จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้
เทคนิคการรู้คิด 3 ประเภท ได้แก่ ความสามารถเข้าใจได้ (Intelligibility) ความสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง (Wide-applicability)
และความสามารถเชื่อถือได้ (Plausibility) เรื่อง การสะท้อนของแสง การหักเหของแสง และการเห็น จำนวน 3 แผน แผนละ
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และแบบทดสอบ 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดแนวความคิดเลือกมโนมติการสะท้อนของแสง จำนวน 4 ข้อ มโนมติ
การหักเหของแสง จำนวน 5 ข้อ และมโนมติการเห็น จำนวน 5 ข้อ และแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์จำนวน 20 ข้อ จำนวน 3 ด้าน คือ
ด้านวิเคราะห์ความสำคัญ ด้านวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และด้านวิเคราะห์หลักการ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test
(One-way ANCOVA) และ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์สูง และนักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ตํ่าหลังเรียนด้วยเทคนิคการคิด
ทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์เพิ่มขึ้น แต่มีแนวความคิดที่ผิดพลาดลดลงจากก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์สูง และนักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ตํ่าหลังเรียนด้วยเทคนิคการคิด
ทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิดวิเคราะห์ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านวิเคราะห์ความสำคัญ
ด้านวิเคราะห์ความสัมพันธ์และด้านวิเคราะห์หลักการ เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์สูง ที่ด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิดวิเคราะห์หลัง
เรียนโดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย