การพัฒนาแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลา; Practical Activities Development of Local Wisdom-Based Science Projects for 10th-12th Grade Students

Main Article Content

วีระ รุดโถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายที่เรียนด้วยแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ประการที่สาม เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน ที่ผ่านการเรียนกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 กิจกรรม แบบประเมินคุณภาพแบบฝึก แบบ
ประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นบูรณาการ การวิเคราะห์ผลใช้คะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับความเหมาะสม มากที่สุด
2. นักเรียนเรียนด้วยแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
บูรณาการเฉลี่ยร้อยละ 66.67 โดยมีนักเรียนร้อยละ 87.50 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 ขึ้นไป

The research aimed to 1) develop the practical activities of local wisdom-based science projects
for 10th-12th grade students, 2) assess the students’ abilities in managing science projects who used the
practical activities, and 3) analyze integrated scientific process skills of the students who used the practical
activities. The subjects were sixteen senior high school students at Wiangsa-ardpittayakhom School,
Phayakkhaphumphisai District, Maha Sarakham Province, who obtained experienced being involved in
activities in the science club during the second semester of the academic year 2010. They were selected
by the purposive random sampling technique. The research instruments were 1) five practical activities of
local wisdom-based science projects, 2) two sets of an assessment form and a test on integrated scientific
process skills. The statistics used were mean, percentage and standard deviation.
Results of the research were as follows:
1. The average level of the quality of practical activities based on the local wisdom regarding the
appropriateness was very high.
2. The finding revealed that the average level of the abilities of the students after using the practical
activities based on the local wisdom science project in managing the science projects was very high.
3. The finding indicated that 66.67% of the students who used the practical activities of based on the
local wisdom-based science projects increased their scientific process skills, which 87.50% of the students
passed the 70 standardized criterion.

Article Details

บท
บทความวิจัย