การพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม; Development of the Standard-Based Administration for Disease Prevention and Health Hazard Control of Sub-District Administrative

Main Article Content

ลีณวัฒน์ คุณเวียน

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์ปัจจุบันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อหลายโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในหลายพื้นที่ ขณะเดียวกัน
ภัยสุขภาพก็มีอุบัติการณ์มากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งในด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในด้าน
สาธารณสุขตามกฎหมาย ในอันที่จะจัดบริการสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรคตลอดจนจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้
ประชาชนมีภาวะสุขภาพที่ดีต่อไป การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนิน
งานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ในตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 45 คน เลือกกลุ่ม
ตัวอย่าง ด้วยวิธีเจาะจง (Purposive sampling method) กลุ่มตัวอย่างจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการวางแผน
แบบมีส่วนร่วม (AIC) และดำเนินกิจกรรมตามวัฏจักรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2553 - มีนาคม
2554 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุม/สนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาใช้ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
หลังการพัฒนา บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพขององค์การ
บริหารส่วนตำบล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) และมีการดำเนินงานในการป้องกันควบคุมโรค
และภัยสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05)
โดยสรุป การประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และวัฎจักรคุณภาพของเดมมิ่งในการพัฒนาการดำเนินงานตาม
มาตรฐานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีการพัฒนา
การดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพดีขึ้น จึงควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นหรือกับ
กิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน

In the current situation, many contagious diseases and non-contagious diseases are still important
problems in many areas of Thailand. At the same time, health hazards have increased gradually. These
problems have had the impact on public health, society and the conomy. The local government organizations
are responsible for health services, disease prevention and control including the management of environmental problems. This action research aimed to develop a standard - based administration of
disease prevention and health hazard control of sub-district administrative organizations in Kaedam district, Maha Sarakham province. The samples were forty five offers of the Wungsang Sub-District Administrative
Organization, Kaedam district, Maha Sarakham province. They were selected by the purposive random
sampling technique. The samples participated in learning activities based on the AIC technique and
Demming, s cycle (PDCA) during December 2010 to March 2011. The data were collected by using
questionnaires, note-taking forms of meeting/focus group discussion and interview forms. The research
statistics used were percentage, mean, standard deviation and paired t-test.
The research result revealed that the knowledge about disease prevention and health hazard control
of the officers after the development was significantly higher than that of the knowledge before the
development at the .05 level. Additionally, a number of disease prevention and hazard control projects after
the development increased significantly at the .05 level.
In conclusion, it can be clearly seen that the application of learning activities based on the AIC technique
and Demming, s cycle (PDCA improves the standard - based administration of disease prevention and
health hazard control of sub-district administrative organizations in Kaedam District, Maha Sarakham
Province. Therefore, the action research model should be promoted and applied to other fields including
other similar activities

Article Details

บท
บทความวิจัย