การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านขามป้อม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 86) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1; The Quality Improvement of Education of Ban Kham Pom School (Welfare Lottery Office 86) under Khon Kaen Educational Service Area Office 1

Main Article Content

บัญชา ละมุลตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประการที่สอง
เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประการที่สาม เพื่อนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้ไปปฏิบัติในโรงเรียน
บ้านขามป้อม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 86) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชนหรือผู้นำองค์กรท้องถิ่น จำนวน
132 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก
การสนทนากลุ่ม นำข้อมูลมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ ประมวลผลและนำเสนอข้อมูลโดยการเขียนบรรยายแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาของปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการปฏิบัติหน้าที่ของครูเป็นปัญหาระดับปานกลาง ปัญหาที่
พบคือ การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยี และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการจัดการงบประมาณ
เป็นปัญหาระดับปานกลาง ปัญหาที่พบคือ การจัดหางบประมาณสนับสนุน และ ปัญหาด้านความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ ด้าน
การจัดสรรสื่อวัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้เป็นปัญหาระดับมาก ปัญหาที่พบ คือ การขาดแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน การ
จัดภูมิทัศน์ในบริเวณโรงเรียน และด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับปานกลาง ปัญหาที่พบ คือ เรื่องการการบริหาร
แบบส่วนร่วม และปัญหาเรื่องแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ไม่ชัดเจน
2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ที่ได้จากการประชุมสนทนากลุ่ม สรุปว่า ด้านการปฏิบัติหน้าที่ของครู ควร
เอาใจใส่และเคร่งครัดในด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น พัฒนาความรู้ให้ทันสมัยและนำวิธีการสอน
แบบใหม่ๆ หรือสื่อที่ทันสมัยมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่วนด้านการจัดการงบประมาณ ต้อง
มีแผนการใช้งบประมาณที่ชัดเจน โดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่าโปร่งใสและจัดหางบประมาณให้เพียงพอ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และแหล่ง
เรียนรู้ ควรวางแผนเพื่อการพัฒนาให้มีสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วน
ด้านการบริหาร ผู้บริหารต้องยึดหลักธรรมาภิบาลเน้นคุณภาพทางด้านวิชาการและตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. ผลการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้ ไปสู่การปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่ง
เรียนรู้ ได้พัฒนาโดยนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพ P-D-C-A มาเป็นแนวปฏิบัติ ได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล
จากแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของครูและนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการมี
ส่วนร่วม การที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการพัฒนาห้องสมุด การที่โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา
มากขึ้น;

The objectives of this research are 1) to study problems regarding factors supporting the development
of education quality, 2) to seek ways to improve the quality of education, and 3) to implement the education
quality development method at Ban Kham Pom. (Welfare Lottery Office 86) under Khon Kaen Educational
Service Area Office 1. The sample group of 132 informants consisted of school administrators, teachers,
students, parents, school board members, and community or local leaders. The instruments used in the
study were a questionnaire, the data from which were analyzed by using mean and standard deviation, an
interview form , and a group-conversation record form. The collected data were then analyzed , synthesized,
processed, and presented in descriptive writing. . The results are as follows:
1. The problems of factors contributed to the development of educational quality are the following:
1.1 Duty performance of teachers was found at the moderate level with problems regarding development
of instructional techniques, development of teaching materials using technology, and teaching with focus
on students.
1.2 Budget management is also a moderate problem, specifically in providing budget support and
transparency in budget spending.
1.3 Providing materials, equipment and learning resources is a problem found at the high level;
specifically, these are lack of useful learning resources for students, and management of school landscape
conducive to learning.
1.4 School management was found at the moderate problem; specifically, with problems regarding
participatory management, and unclear educational quality improvement plan.
2. The focus group meetings led to the following guidelines for ways to improve the quality of education:
2.1 Regarding duty performance of teachers, they should be attentive and rigorous in terms of student
learning in order to increase their academic achievement; they should develop and apply advanced knowledge
of new teaching methods, and find media or use new technology in teaching and learning activities, with
emphasis on the students.
2.2 There should be a clear plan in budget management emphasizing money-saving, cost-effectiveness,
transparency and sufficiency.
2.3 Regarding materials, equipment and learning resources, there should be development plan for
instructional materials, modern or advanced equipment , and high quality learning resources useful to students
and facilitating their learning.
2.4 Regarding School management, emphasis should be on good governance focusing on the
academic quality and students’ achievement.
3. The implementation by putting the guidelines for development of education quality into action, with
a sample case study of the library developed as the learning resource by applying the P-D-C-A quality
improvement model was satisfactory, based on analyses of data from the questionnaire and interview: the
satisfaction of teachers and students was found at the high level; especially in participation, every section’s awareness of the development of the library as the school’s quality learning resource, and the study helped
promote educational development.

Article Details

บท
บทความวิจัย