ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2;Factors Corresponding to the Implementation of the Student Assistance System in Schools under Kalasin Educational Service Area Office

Main Article Content

สุรศักดิ์ เสดสีกาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประการที่สอง
ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประการที่สาม สร้างสมการพยากรณ์การดำเนินงาน
ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2552 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 200 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 69 ข้อ
ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.37 - 0.86 แต่ละด้านมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.82 - 0.95 และแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการดำเนิน
งานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.16 - 0.81 ค่าความเชื่อมั่น 0.95 การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดย
รวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (X4) การมี
มนุษยสัมพันธ์ (X2) ภาวะผู้นำ (X1) แรงจูงใจ (X3) เจตคติ (X6) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
ปัจจัยด้านขวัญและกำลังใจ (X5) การมีส่วนร่วม (X7) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กาฬสินธุ์ เขต 2 ได้แก่ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (X4) การมีมนุษยสัมพันธ์ (X2) ความสามารถในการพยากรณ์การดำเนิน
งานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ร้อยละ 45.40 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Y1 = 1.638 + 0.206X2 + 0.406X4
Z1Y
= 0.246Z2 + 0.491Z4;

The purposes of this study were to examine the level of operations in the student assistance system, to
determine factors that correspond to the operations, and to establish a predictive equation for operations in
the system of assistance to students in schools under Kalasin Educational Service Area Office 2. The sample
for this study consisted of 200 teachers in charge of the student assistance system, who were obtained
by using simple random sampling. One of the instruments used in this study was a 69-item questionnaire
regarding factors related to the operations of the student assistance system that had discrimination index of
0.37 – 0.86 and 0.82 – 0.95 reliability; and the other instrument was a 40-item questionnaire inquiring about the
levels of operation of the student assistance system with 0.16 - 0.81 discrimination index and 0.95 reliability.
Data were analyzed by using mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
Results of the study are as follows:
1. Both the overall operation and operations in specific aspects of the student assistance system were
found at the high level.
2. The factors that correspond positively to the operation in the student assistance system were supervision,
monitoring and evaluation (x4), human relationships (x2), leadership (x1), motivation (x3), and attitude (x6. These
factors were positively correlated with the operation of the system at the .01 level of statistical significance;
while morale(x5) and participation (x7) were positively correlated with the operation of the system at the 0.05
level of statistical significance.
3. The factors that can predict the operation in the student assistance system were supervision, monitoring
and evaluation (x4) ; and human relationships (x2) can be a predictive factor for the operation of the student
assistance system at 45.40 per cent. The regression equation in the form of raw scores and standardized
scores can be written as follows:
Y = 1.638 + 0.206 X2 + 0.406 X4
ZY = 0.246 Z2 + 0. 491Z4

Article Details

บท
บทความวิจัย