การศึกษาผลของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ จากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด; A Study on Learning English Vocabulary through a Visual Memor

Main Article Content

ณภัทริน เภาพาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
เน้นความจำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ประการที่สอง ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อน
และหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และประการที่สาม ศึกษาความพึง
พอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎี
พหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1/6 สาขาวิชาพณิชยการ โรงเรียนธีรภาดา
เทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 31 คน ที่ได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษา
อังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา การวิจัย
นี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.64/84.43 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดคือ 75/75 ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ของการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเน้นความ
จำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เท่ากับ 0.40 แสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนว
ทฤษฎีพหุปัญญา ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
เน้นความจำจากภาพประกอบตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาอยู่ในระดับมาก;

The purposes of this research were to study vocational students’ achievement on learning English
vocabulary through use of the visual memory model based on the theory of multiple intelligence. Subjects were
31 first-year vocational diploma students of commerce at Teerapada Technology School, Roi-Et province,
selected through purposive sampling. The research instruments consisted of lesson plans, a vocabulary test
and a satisfaction rating-scale questionnaire. The data were analyzed by using means, percentage, standard
deviation and t–test (Dependent Sample)
The findings revealed that the efficiency of the lesson plans using the visual memory model based on
the theory of multiple intelligence was 83.64/84.43, that was significantly higher than the established criteria
of 75/75. The effectiveness index was 0.40, indicating that the students’ English vocabulary recognition ability
increased 40%. The achievement of the students learning English vocabulary through use of the visual
memory model based on the theory of multiple intelligence increased significantly at the .05 level. After
learning English vocabulary through use of this visual memory model, the students’ learning satisfaction was
found at the high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย