การพัฒนารูปแบบการเพิ่มพูนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเชิงไวยากรณ์ โดยใช้กลยุทธ์คู่คิดอัจฉริยะ; Development of Instructional Model for Improving English Grammatical Writing Skills using Intelligent Think-Pair-Share Strategy
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะสำหรับนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงไวยากรณ์
โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ ประการแรก เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มพูน
ทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงไวยากรณ์ โดยการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับทักษะของนักศึกษา ประการที่สอง เป็น
เครื่องมือสำหรับช่วยครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษด้านทักษะการเขียน ประการที่สาม เพื่อวิเคราะห์จำแนกผู้เรียนทำให้การจัดแนว
การสอนและกจิ กรรมมปี ระสทิ ธภิ าพสงู สดุ ประการท่สี ี่ เพอื่ เปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธก์ิ อ่ นและหลงั การใชบ้ ทเรยี น และ ประการท่หี ้า
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 240 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 54 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 18 คน ตามระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสะสมวิชาภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ซึ่งแบ่งการวิจัย
ออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะ ซึ่งพัฒนาตาม
รูปแบบการสอนของ เนิร์ค แอนด์ กุสตาฟซัน (Knirk and gustafson model) 2) การทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยแบบ
คู่คิดอัจฉริยะ ซึ่งการวิจัยระยะที่ 2 ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One group pretest posttest design ผลการวิจัยพบว่า
1) โดยภาพรวม ผู้เรียนมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบหลังเรียนโดยใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 54.73 ซึ่งสูงกว่าค่า t วิกฤตที่
ระดับ ∝ .05 ชั้นความเป็นอิสระ (df = 53) มีค่าเท่ากับ 1.6741 3) การวิเคราะห์ความคงทนในการเรียนรู้ พบว่า เมื่อเวลา
1 นั ผ่านไป 1 สัปดาห์ (7 วัน) ผู้เรียนทำคะแนนลดลงร้อยละ 8.04 และเมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน คะแนนลดลงร้อยละ 26.23 ซึ่งเป็น
ไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล พบว่า ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.72 คิดเป็นร้อยละ 72.00 แสดงว่า
การเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยแบบคู่คิดอัจฉริยะ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา