รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์; A Model of the Protection and Solution for Drug Problems by Participatory Action Research: A Case Study of Khambong
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ในพื้นที่เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประการที่สอง เพื่อสร้างรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
และประการที่สาม เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กำหนดขั้นตอนการดำเนินการ
วิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในพื้นที่เทศบาล
ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ ประชากร คือ ประชาชนทุกคนในพื้นที่
เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 ชุมชน มีจำนวนครัวเรือน ทั้งสิ้น 2,406 ครัวเรือน ประชากร
จำนวนทั้งสิ้น 10,477 คน กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแกนนำชุมชนที่คัดเลือกมาจากทุกกลุ่ม/องค์กร ภายในชุมชน ชุมชนละ 50 คน
จำนวน 15 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 750 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสังเกต ศึกษาโดยการจัดประชุมแบบ
มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคนิค A-I-C ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยผู้วิจัยและ
ทีมวิจัยได้ประชุมกลุ่มแกนนำชุมชนจำนวน 15 ชุมชน โดยใช้เทคนิค A-I-C แบ่งผู้เข้าประชุมเป็นกลุ่มย่อย มีการระดมสมอง
คิดค้นหารูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละชุมชน จากนั้น ทีมวิจัยและกลุ่มแกนนำชุมชนได้สรุปและอภิปรายผลต่อที่ประชุมใหญ่
และช่วยกันสร้างรูปแบบได้ จำนวน 7 รูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
โดยนำรูปแบบที่ได้จากการสร้างขึ้นในระยะที่ 2 และมีการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลคำบง
อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 8 ชุมชน โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลพื้นฐานก่อนการทดลองใช้รูปแบบการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติด (Pre–Test) ของชุมชน จำนวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ผู้ค้ายาเสพติด ผู้เสพยาเสพติดที่ได้รับการบำบัด จำนวนครั้ง
ของการลักขโมย จำนวนครั้งของการก่ออาชญากรรม จำนวนครั้งของการทะเลาะวิวาท จำนวนคนในแกงค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง และ
ความพึงพอใจของประชาชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน เมื่อเก็บข้อมูลก่อนการทดลองใช้รูปแบบแล้ว
จึงทำการทดลองใช้รูปแบบเป็นเวลา 6 เดือน และหลังจากนั้นได้เก็บข้อมูลหลังการทดลองใช้ (Post–test) เพื่อเปรียบเทียบ
ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Repeated Measure Multivariate Analysis of Variance : MANOVA
ผลการวิจัยพบว่า
ปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าในพื้นที่
เทศบาลตำบลคำบงทั้ง 15 ชุมชน มีปัญหาผู้ค้ายาเสพติด ผู้เสพยาเสพติด และเป็นทั้งผู้ค้าและเสพยาเสพติดทุกชุมชน
ส่วนผู้ผลิตไม่มีในพื้นที่ ผลการสร้างรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง
จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการระดมสมองของกลุ่มแกนนำชุมชนทั้ง 15 ชุมชน ได้โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจำนวน
ทั้งสิ้น 7 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้ม โครงการจัดตั้งเวรยาม โครงการตั้งกฎสังคม โครงการอบรมให้ความรู้แก่
ประชาชนเป็นประจำ โครงการจัดกีฬาต้านยาเสพติด โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง และโครงการรณรงค์ ให้ประชาชน
ลด ละ เลิก อบายมุข และผลการประเมินรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่เทศบาลตำบลคำบง อำเภอ
ห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทำการทดลองใช้รูปแบบในพื้นที่ 8 ชุมชน โดยได้ทำการเปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลัง
การทดลองพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผลการดำเนินงานทั้ง 7 โครงการ ในพื้นที่
8 ชุมชน ทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลง ความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เกิดจากแนวความคิดของคนในชุมชนสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้เป็นผลสำเร็จ
The objectives of the research were 1) to analyze the present situation and problems related to
drug epidemic in Khambong sub-district municipality, Huaypheung district, Kalasin province, 2) to design
a model of the protection and solution for the drug problems and 3) to try it out and evaluate the model.
The research methodology consisted of 3 steps. Step 1 was to analyze the present situation and
problems related to drug epidemic. The population was 10,477 villagers from 2,406 families in 15
communities in Khambong sub-district municipality, Huaypheung district, Kalasin province and
the target\group was 750 community leaders of all organizations and social groups from 15 communities
in Khambong sub-district municipality, Huaypheung district, Kalasin province. The research instruments
were a survey form, a questionnaire and an observation form. The A-I-C technique was employed in
the study by organizing a creative participatory meeting. Step 2 was to design 7 models based on
the ideas from brain storming discussion of researchers and community leaders from 15 communities.
Step 3 was to try the model out on people in 8 communities for 6 months and evaluate focusing on
7 factors: drug sellers, recovered drug takers, frequency of the robbery, frequency of crime commitment,
frequency of fight, number of motorbike gangsters and satisfaction of people with the management of
the protection and solution for drug problems in community. The data were collected before and after
try-out of the model. A repeated measures MANOVA was used to determine whether there was any
significant difference between the scores.
The research findings indicated that the problems in 15 communities of Khambong sub-district
municipality regarding the analysis of the present situation and drug problems were: the problems of
drug sellers, drug takers and people who were being both drug sellers and drug takers but no drug
producers in the communities. The 7 models of the protection and solution for the drug problems consisted of community committee for the security project, a security guard project, social regulations
project, a training course of drugs project, a sport anti-drug project, a professional development project,
a wealthy and peaceful community project.
In regard to the model evaluation, the research findings indicated that the effects of the developed
model after and before try-out of the model were significantly different at the .05 level. The finding
indicated that the number of the drug problems decreased while the people were satisfied with the model
of the protection and solution for the drug problems in community.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา