การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3; Discriminant Factors Analysis Affecting Conducting Action Research of Teachers under Roi-Et Educational Service Area Office 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ประการแรก เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน
และประการที่สอง เพื่อสร้างสมการจำแนกการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด
เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
จำนวน 342 คน แบ่งออกเป็นครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 171 คน และครูที่ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 171 คน ได้มา
โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวัดทัศนคติที่มีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ความรู้เกี่ยวกับ
การทำวิจัยในชั้นเรียน ภาระงาน การสนับสนุนของหน่วยงาน การสนับสนุนของผู้บริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
การพัฒนาตนเองทางการวิจัยในชั้นเรียน สิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน คุณสมบัติของผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และแรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนและกลุ่มครูที่ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียนมี 6 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อ
การทำวิจัยในชั้นเรียน (x1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (x10) การพัฒนาตนเองทางการวิจัยในชั้นเรียน (x7) ความสัมพันธ์ระหว่าง
เพื่อนร่วมงาน (x6) การสนับสนุนของผู้บริหาร (x5) และสิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน (x8) ซึ่งสมการจำแนกประเภทที่ได้
สามารถคาดคะเนการเป็นสมาชิกกลุ่มครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้องร้อยละ 94.7 กลุ่มครูที่ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้อง
ร้อยละ 93.6 และทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 94.2 มีสมการจำแนก ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ คือ
y´ = -7.716 + 0.072x1 + 0.071x10 + 0.062x7 + 0.048x6 - 0.038x5 + 0.029x8
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z´y = 0.610z1 + 0.324z10 + 0.323z7 + 0.259z6 - 0.250z5 + 0.187z8
ปัจจัยสำคัญที่ให้นํ้าหนักในการจำแนกความแตกต่างของกลุ่มครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนและกลุ่มครูที่ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียน คือ
ทัศนคติที่มีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน แนวโน้มของปัจจัยในสมการจำแนกประเภท พบว่า ปัจจัยทัศนคติที่มีต่อการทำวิจัย
ในชั้นเรียน ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยการพัฒนาตนเองทางการวิจัยในชั้นเรียน ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
และปัจจัยสิ่งที่เอื้อต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มจะเป็นลักษณะของกลุ่มครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียน ส่วนปัจจัย
การสนับสนุนของผู้บริหาร มีแนวโน้มจะเป็นลักษณะของกลุ่มครูที่ไม่ทำวิจัยในชั้นเรียน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา