การบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม; The Administration Manages Funds Village Loan to Family Development and The Community Sustainability : Maha Sarakham Province

Main Article Content

พรพิมล เฉลิมมีประเสริฐ
ภณิตา สุนทรไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้าน สู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม
ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและสถานภาพการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ประการที่สอง
เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเงินกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านของสมาชิกกองทุนฯ เขตชุมชนเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ ประการ
ที่สาม เพื่อหาแนวทางการให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้าน
สู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งสู่หมู่บ้านและชุมชน ให้เป็น
ภูมิคุ้มกันวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง
จังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 3 เขต เขตละ 2 ชุมชน รวมเป็น 6 ชุมชน ในแต่ละเขตเลือกชุมชนที่มีเงินกองทุนมาก 2 ลำดับ นำประชากร
คือ จำนวนสมาชิกกองทุนฯ ที่กู้ยืมจาก 6 ชุมชน จำนวน 619 คนมาสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)
กำหนดให้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 277 คน ผลการวิจัยพบว่า
ด้านข้อมูลส่วนบุคคล
1. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 84.24 ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 59 ปีขึ้น
สถานภาพส่วนใหญ่สมรสแล้ว จำนวนสมาชิกในครอบครัวของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ มีจำนวน 4 - 6 คน จำนวนบุตรหรือผู้ที่
ต้องรับผิดชอบที่กำลังศึกษาเล่าเรียนของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ มีจำนวน 2 คน อาชีพของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ พบว่า
มีอาชีพค้าขาย ระดับการศึกษาของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ อยู่ในระดับประถมศึกษา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน อยู่ใน
ระหว่าง 3,000 - 5,000 บาท
2. พื้นที่ที่ทำกินของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ มีที่ตํ่ากว่า 1 ไร่ มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านพักของตนเอง ไม่มีภาระในการ
ผ่อนชำระ
3. จำนวนเงินที่ขอยื่นกู้กองทุนของสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างจำนวน 15,001- 20,000 บาท ส่วนจำนวนหนี้
คงเหลือนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้เพราะรออนุมัติเงินกู้

ด้านสถานภาพการเป็นสมาชิกกองทุน
1. สว่ นใหญเ่ ปน็ สมาชกิ กองทนุ ฯ มากกวา่ 6 ปี และมปี ระสบการณก์ ารเขา้ รบั การอบรม เรอื่ งทไี่ ดร้ บั การอบรมมากทสี่ ดุ คอื
การเขียนโครงการกู้เงินกองทุน และยังมีความต้องการอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ
2. องค์กรที่มาให้ความรู้แก่กองทุนหมู่บ้าน ส่วนใหญ่คือพัฒนาการอำเภอ
3. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง มีความสามารถเขียนโครงการกู้เงินได้ด้วยตนเอง และได้รับ
ความสะดวกมากในการขอกู้เงินกองทุน ได้มีวัตถุประสงค์ในการขอกู้เงินกองทุนนำไปใช้ในด้านการค้าขาย/ธุรกิจ ส่วนการนำ
เงินกู้จากกองทุนไปใช้หนี้นอกระบบมีเพียงร้อยละ 4.89 เท่านั้น
4. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ ได้นำเงินจากการกู้กองทุนไปใช้ตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดมากถึงร้อยละ 72.28
การบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนของสมาชิกด้านต่างๆ
1. ด้านการเกษตร สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้นำเงินจากการกู้กองทุนไปใช้ในด้านการเกษตร การทำนา ปลูก
พืชผักสวนครัว เลี้ยงไก่ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และเลี้ยงปลา
2. ด้านการค้า/ธุรกิจ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ ได้นำเงินจากการกู้กองทุนไปใช้ด้านการค้า/ธุรกิจ 1) ธุรกิจการผลิต
เกี่ยวกับการผลิตขนม 2) ธุรกิจจำหน่ายเกี่ยวกับขายของชำ และ 3) ธุรกิจให้การบริการเกี่ยวกับการทำความสะอาดบ้าน
3. ด้านอุปโภค/บริโภค สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ ได้นำเงินจากการกู้กองทุนไปใช้ในด้านการอุปโภค/บริโภค
เกี่ยวกับซื้ออาหารการกิน
4. ด้านการศึกษาบุตรหลาน สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีภาระในการศึกษาของบุตรหลานจำนวนสมาชิกกองทุนทั้งสิ้น
113 คนนั้น ได้มีภาระค่าใช้จ่ายให้การศึกษาต่อเดือนส่วนใหญ่คือ ระหว่าง 1,001 - 3,000 บาท
5. ด้านการนำไปใช้หนี้นอกระบบ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีหนี้นอกระบบ จำนวน 59 คน โดยส่วนใหญ่มีหนี้จำนวน
ระหว่าง 10,001 - 15,000 บาท ส่วนการจ่ายให้เจ้าหนี้ต่อเดือนนั้น พบว่า จ่ายให้ระหว่าง 1,001 - 3,000 บาท
ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่าง สรุปเป็นประเด็นที่สมาชิกกองทุนเสนอแนะไว้ ดังนี้ ควรเพิ่มเงินกู้ เพื่อให้เพียงพอ
กับการลงทุน ควรมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างสมํ่าเสมอ พยายามหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้นอกระบบ สอนให้รู้จักประหยัด
ไม่เห่อตามกระแสสังคมสมัยใหม่ คณะกรรมการกองทุนควรเพิ่มเงินฉุกเฉินเพื่อสามารถนำไปใช้หนี้นอกระบบได้บ้าง
รับประทานอาหารในบ้านพร้อมกันทั้งครอบครัว จะเป็นการประหยัดได้อีกทางหนึ่ง ควรตั้งร้านสหกรณ์ชุมชน เพื่อให้สมาชิก
มีเงินออมและได้รับปันผลปลายปี ช่วยกันประหยัดนํ้า - ไฟ ควรทำการเกษตรตามวัตถุประสงค์ของการกู้ที่ระบุไว้ ถ้ามีทุน
การศึกษาน้อย ก็ควรแนะนำให้บุตรหลานเรียนสายวิชาชีพหรือหลักสูตรระยะสั้นไว้ก่อน เมื่อมีอาชีพแล้วจึงหาโอกาสศึกษาต่อภายหลัง

The objectives of the research were to survey personal data and status of community funds membership,
2 to analyze loan management of the funds, and to find strategies for the development of loan management
system for sustainable community development. The population was 619 members of community funds
from 6 communities and 277 sample subjects were selected by Taro Yamane method.

Result of this research
Personal data
1. The findings indicated that 84.24 percent of the members were females who were over 59 years
old. Most of them were married. They were from 4-6 member family with 2 children who were studying.
Most of them were merchants with a primary school diploma. Their income was about 3000 - 5000 baht a
month.
2. The members had occupied 1 less rai of agricultural area and they had their own house.
3. The members asked for a 15000 - 20000 baht loan.
Membership of community funds
1. Most of the members were over 6 -year - membership, they got experience in writing a proposal for
community fund loan.
2. The office of district development was a main organization to provide knowledge to the members.
3. Most of the members attended the meeting and they were able to write a proposal for a loan with
a commercial purpose. However, only 4.89 percent of the loan was used for illegal dept.
4. 72.28 percent of the members spent money legally regarding the objective of loans.
Loan management of community funds
1. In regard to an agricultural purpose, the finding indicated that most of the members spent money
on growing rice, vegetables, flowers, raising chicken and fish.
2. Regarding a business purpose, the research finding indicated that most of the members spent
money on productive business, desert/sweet business, grocery and service business such as house cleaner.
3. The finding indicated that most of the members spent money on buying food regarding the consumption.
4. The members spent money about 1000-3000 baht on education for their children regarding education.
5. 59 members spent money on their illegal dept. It was about 10000 - 15000 baht.
Suggestions
In regard to the suggestions, it is concluded that the amount of loan should be sufficient for the
members, the family account should be made regularly. Moreover, the members should avoid being in an
illegal dept. The amount of money should be more for an emergency case and the community cooperative
should be established for saving purpose of the members. The family members should have meal together
at the same time and save water and electricity. The members should spend their money strictly based
on the objective of loan. In case of the limited funds for education, the members should recommend their
children to take short professional courses in vocational schools or colleges.

Article Details

บท
บทความวิจัย