เพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมจองไดในงานมงคลสมรสของราชอาณาจักรกัมพูชา

Main Article Content

จักรายุทธ นพราลัย
สุรพล เนสุสินธุ์
เจริญชัย ชนไพโรจน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมจองไดในงานมงคลสมรสของราชอาณาจักรกัมพูชา 2) เพื่อบันทึกโน้ตเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมจองไดในงานมงคลสมรสของราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีทางด้านต่าง ๆ ทำการรวบรวมข้อมูล ทำการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมจองไดในงานมงคลสมรสของราชอาณาจักรกัมพูชามีอยู่ 6 เพลง คือ 1) เพลงโหมโรง ใช้บรรเลงเป็นเพลงแรก เพื่ออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และประกาศให้รู้ว่าพิธีกรรมจะเริ่มขึ้นแล้ว 2) เพลงกองซอย ใช้บรรเลงเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ    ผู้ล่วงลับไปแล้ว 3) เพลงซำเปอทอย ใช้บรรเลงเพื่อเชิญบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้กลับออกไปจากพิธีกรรม 4) เพลงเนียะปอน ใช้บรรเลงตอนแขกผู้มีเกียรติจุดเทียนล้อมรอบคู่บ่าว – สาว เพื่อชี้ทางสว่างให้คู่บ่าว – สาว 5) เพลงไบคอน เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมจองไดคู่บ่าว – สาว 6) เพลงเปรียะทอง ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายตอนเจ้าสาวจูงมือเจ้าบ่าวออกจากสถานประกอบพิธีกรรมไปยังห้องเรือนหอ เพลงแต่ละเพลงไม่ทราบประวัติความเป็นมา มีรูปแบบการบรรเลงแบบซ้ำทำนองเพลง มีทำนองหลักเพียงทำนองเดียวแต่มีหลายเนื้อร้อง ส่วนการบันทึกโน้ตเพลง บันทึกเป็นโน้ตสากลสำหรับเครื่องดนตรีและสำหรับคำร้อง วงเพลงการ์ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงบทเพลงประกอบพิธีกรรมจองไดในงานมงคลสมรสของราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขียน ธีระวิทย์และสุนัย ผาสุก. (2543). กัมพูชา ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจความมั่นคงการเมืองและการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพ เจริงบุญ. (2540). การผสมผสานวัฒนธรรมชาวไทย - ลาว และ ชาวไทย-เขมรในพิธีมงก็วลจองไดบ้านดม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. (ไทยคดีศึกษา) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาเซียน กำซัว. (18 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์. ราษฎรหมอสูตร บ้านภูมิเตรียง ตำบลสลอกกราม อำเภอเมือง จังหวัดเสียมเรียบ.
โมนี วาสนา. (16 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์. ราษฎร นักดนตรีบ้านสำโรงสโน ตำบลสำโรงกะนอง อำเภอเอกพนม จังหวัด พระตะบอง.
รัชกฤช คงพินิจบวร. (2554). เพลงการ์ของชาวเขมร กรณีศึกษาวงอุดรเมียนเจ็ย ตำบลโอเสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดร เมียนเจ็ย ประเทศกัมพูชา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. (ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สำอางค์ สาม. (18 กรกฎาคม 2561). สัมภาษณ์. นักวิชาการดนตรีชาวกัมพูชา, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ). (2553). เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ.นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฮาะ ฮอน. (18 กรกฎาคม 2559). ราษฎร นักดนตรี บ้านทะนอลตะตึง ตำบลเปรียะปะดา อำเภอบันเตียสแรย จังหวัดเสียมเรียบ. สัมภาษณ์.
Kathy, M. (2002). Ritual performativity and music Cambodian wedding music in Phnom Penh. Ph.D. Dissertation, Department of Psychology, Brown University, Island.
Sam, S. (1998). The Garland Encyclopedia of World Music Volume 4 Southeast Asia. Chicago: Garland Pub.
Sam, S. (2002). Musical Instruments of Cambodia. Osaka : National Museum of Ethnology Japan.