การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม

Main Article Content

แพรตะวัน จารุตัน
วรปภา อารีราษฎร์
ละอองทิพย์ มัทธุรศ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม จำนวน 155 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามบริบท ปัญหา และความต้องการรูปแบบของผู้เกี่ยวข้อง และแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 นโยบาย และหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นที่หลัก 3R4C และการเรียนรู้ของนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยิน แบบเรียนร่วม มีบัดดี้ ส่วนที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม ประกอบด้วย หลักการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใน การจัดกิจกรรม และส่วนที่ 3 ตัวชี้วัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน และ  2) ความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม ประกอบด้วย 1) ความเหมาะสมของหลักการ แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความสอดคล้องของกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ความเหมาะสมขององค์ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา. (2556). ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการเรียนร่วม พ.ศ. 2556. สกลนคร.
แพรตะวัน จารุตัน, วรปภา อารีราษฎร์, และธรัช อารีราษฎร์. (2561). การศึกษาบริบท ปัญหา และความต้องการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินแบบเรียนร่วม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
ครั้งที่ 4. (น. 103 - 110). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ศิริพร น้อยอำคา, และปรีชา น้อยอำคา. (2558). การพัฒนารูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสำหรับผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินโดยยึดหลักองค์ประกอบการคิดวิเคราะห์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 34(4), 375 - 382.
มลิวัลย์ ธรรมแสง, ผดุง อารยะวิญญู, และประกฤติ พูลพัฒน์. (2559). การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวก. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 5(1), 9 - 21.
ณัฐพล ธนเชวงสกุล. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบภควันตวิทยาด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP เพื่อส่งเสริมการสร้างสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 29(3), 90 - 99.
Gentry, M.M., Chinn, K.M., and Moulton, R.D. (Winter 2004 - 2005). Effectiveness of multimedia reading materials when used with children who are Deaf. American Annals of the Deaf. 149(5), 394 - 403.
สุมนา สุขพันธ์. (2561). การจัดการเทคนิคการสอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ โดย Google Classroom สู่ไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 29(2), 152 - 162.
นรินทร์ อยู่ดี, และกฤษณะ ภักดีพงษ์. (2557). ใช้ LINE ให้เป็นเล่น Instagram ให้เพลิน. กรุงเทพฯ: วิตตี้ กรุ๊ป
รัชฎา เทพประสิทธิ์, และสุธิดา ชัยชมชื่น. (2561). การออกแบบชุดฝึกอบรมสำหรับผู้สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานบนโปรแกรม Scratch เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการเขียนโปรแกรม. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์. 1(1), 36 - 45.
สัญญา เคณาภูมิ. (2562). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 3(2), 89 - 106.
แพรพรรณ จรูญพิทักษ์พงศ์, และประชาสรรค์ แสนภักดี. (2562). แนวทางการส่งเสริมการศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13(2), 12 - 19.
จรรยา ชัยนาม และอภินภัศ จิตรกร. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาษามือไทย เรื่อง คำศัพท์พื้นฐานเพื่อการออกแบบทางศิลปะ สำหรับนักศึกษาหูหนวก ระดับปริญญาตรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(1), 145 - 157.
สมหมาย แก้วกันหา. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อ อีดีแอลทีวี.ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 11 (น. 697 - 702). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.