การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์

Main Article Content

กนกพร สีแดง
เนตรชนก จันทร์สว่าง
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี ที่เรียนวิชาชีววิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัยพบว่า การคิดวิเคราะห์ด้านความสำคัญ ความสัมพันธ์ และหลักการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ มีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X}= 6.83, S.D. = 1.20),  ( = 6.90, S.D. = 1.69) และ ( = 7.30, S.D. = 2.26) ตามลำดับ โดยการคิดวิเคราะห์รวม ( = 21.03, S.D. = 1.72) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้  แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์ มีค่าเฉลี่ย ( = 29.23, S.D. = 7.87) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ วุฒิวิชาภรณ์. (2554). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับวิธีเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทวารวดี
จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ VeridianE-Journal. 5(1), 657.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 275/2556.รมว.ศธ.เปิดการเสวนา ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอน.
คมขำ บุ่งนาแซ. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องชีวิต กับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es). วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(4),112 - 120.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราวลัย จีนอนงค์. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ผ้าขาวม้าร้อยสี สำหรับเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(3), 233 - 247.
พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร. (2016). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้
แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(3), 1349 - 1365.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน, (2561). http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2561.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).(2558). สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/ news-8/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555 – 2559.กรุงเทพฯ: มปท..
สุชาดา พ่อไชยราช และสุภาพร พรไตร. (2558). การยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 6(1), 46 - 56.
สุดารัตน์ ศรีรุ่งเรือง. (2555). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษาโดย
ใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5ES) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 35(3), 72 - 79.
สุนันทา ยินดีรมย์. (2014). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(2), 65 - 78.
เสาวลักษณ์ หล้าสิงห์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับ
ความรู้สึกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8(1), 1234 – 1255.
Bruner, Jerome S. (1968). The Inquiry in a Handbook Secondary School. New Jersey: Prentice-Hill Englewood Cliffs.