การจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการขยายโรงเรียนจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ศึกษาผลการขยายการจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนตามสาระเป้าหมาย 10 ปี ของ สสส. ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 78 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินผู้เรียน (2) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม (3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม พื้นที่การวิจัยเป็นโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาของ จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 26 โรงเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาการขยายโรงเรียนจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ดำเนินงาน 5 ขั้นตอน
- ผลการขยายการจัดการเรียนรู้แบบเครือข่าย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบวิธีการ 4 วิธี
- ผลการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน ตามสาระเป้าหมาย 10 ปี ของ สสส. 5 ด้าน โดยภาพรวมผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2550). เด็กไทยบนทางสามแพร่ง :
บทสังเคราะห์กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประกิต ทัพธานีและมาลินี ระถี. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายหมี่เหล่าน้อยร่วมใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2560). การสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ด้วยการสื่อสารตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2561). รายงานโครงการการขยายเครือข่ายการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ (สสส.)
พานิดา สิทธิหาโคตร. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายหนองหมื่นถ่านวิทยา ดูแลห่วงใยใส่ใจสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
พิรุณ แก้วนะรา. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายหนองบัวพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขภาวะโดยการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)
ศราวุธ ศรีประภา. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายชุมชนบ้านป่าแดงร่วมใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันต์ ทิพย์อาสน์และอรุณรัตน์ ทิพย์อาสน์. (2561). รายงานผลการดำเนินงานโครงการโคกค่ายโคกใหญ่ รวมพลังสร้างวินัยเรียนรู้อย่างเข้าใจห่วงใยสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)