การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ชุมชนเขาภูหลวง และทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา

Main Article Content

นิพนธ์ ปล้องงูเหลือม
สิริรัตน์ นาคิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ชุมชนเขาภูหลวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ชุมชนเขาภูหลวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังสีสด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้จากการสุ่มตามกลุ่ม หรือตามพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.08 และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 21.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.16 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 21.64 คิดเป็นร้อยละ 72.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะชีวิตของนักเรียนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 10.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.77 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 22.29                     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.93 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ             ทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กันย์สินี ปัญญาอภิวงศ์. (2557). ทักษะชีวิตเพื่อการจัดการตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal. 8(1), 138 - 152.
จิรประภา อัครบวร และอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2554). ศาสตร์แห่งพระราชาในการพัฒนาองค์การ: เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนากรณีศึกษา สรพ. สมศ. และ ก.พ.ร. กรุงเทพฯ:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวงภาคเหนือของไทย. Veridian E-Journal. 11(1),1906 - 3431.
เดชา ปุญญบาล. (2560). 9 ตามรอยบาท ศาสตร์พระราช. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(2),13 - 20.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษกร วัฒนบุตร, พระครูโอภาสนนทกิตติ์ และพระอุดมสิทธินายก. (2556). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาคนไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร. 6 (ฉบับพิเศษ), 539 - 552.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง การ จัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยใช้วิธีสอน
แบบโครงงานผสานศาสตร์พระราชาเล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของ นักเรียนวัยรุ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3,(1),75 - 86.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2560). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/main/th/news3/6888/78941
สมบูรณ์ ตันยะ.(2548). การประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวิริยะสาร.