การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

วันทิตา โพธิสาร
สมคิด สร้อยน้ำ
เรวณี ชัยเชาวรัตน์

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยศึกษา ถึงกระบวนการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศ เงื่อนไขกระบวนการเกิด การดำรงอยู่ และผลที่ตามมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ทำ        การศึกษา โดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎี ซึ่งเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และจดบันทึกข้อมูลผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา        ผู้ปกครอง  สถานประกอบการ และหน่วยงาน ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา จำนวน 30 คน การเลือกผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง  และแบบลูกโซ่ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแปลความ ตีความหมาย และสร้างมโนทัศน์ โดยใช้โปรแกรม Atlas.ti


            ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย การมอบหมายงาน ความรับผิดชอบการพัฒนาตนเอง การกำกับติดตาม การทำงานเป็นทีม การสร้างแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วม 2) เงื่อนไขการเกิดกระบวนการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศ ได้แก่ คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทภาวะผู้นำ 3) การดำรงอยู่ของกระบวนการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศ ได้แก่ นโยบายบริหาร ความมั่นคง การควบคุมคุณภาพ การสร้างแรงจูงใจ และความรัก ความผูกพัน 4) ผลที่ตามมาจากการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศ ได้แก่ สถานศึกษามีคุณภาพ บุคลากร
มีวัฒนธรรมองค์การในการทำงานร่วมกัน ผู้สอนเป็นเลิศทางวิชาชีพ และผู้เรียนมีสมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). มาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559. 14 พฤศจิกายน 2559, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 258, 23 - 25.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เรียนให้รู้: ใช้ข้อมูล อย่างผู้ชนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
สมาน อัศวภูมิ. (2559). ความเป็นเลิศและการจัดการความเลิศ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 16(1), 1 - 7.
ทิวัตถ์ ศรีดำรงค์. (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 10(18), 52 - 60.
เผด็จ อมรศักดิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 28(98), 31 - 38.
พัชณีย์ คำหนัก. (2559). แนวคิดการสร้างกำลังแรงงานอาชีวะของรัฐบาลทหารภายใต้ ม. 44. กรุงเทพฯ: ประชาไท.
ยุภาวรรณ โมรัฐเถียร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 10(1), 31 - 45.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2559). การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอาชีวศึกษาสู่อาชีวศึกษาทวิภาคี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). อาชีวะสร้างชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุจิตต์ ปุคะละนันท์. (2550). HR กับการพัฒนาองค์การสู่ High Performance Organization. วารสารการบริหารคน, 28(4), 11 - 22.
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 5(1), 36 - 49.
อุดม ชูลีวรรณ. (2560). รูปแบบการพัฒนาการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วารสาร วิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(3), 36 - 47.
DuBrin, A.J. (2007). Leadership Research Findings, Practice and Skill. 5th ed. Boston : Houghton Mifflin.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2012). Educational Administration : Theory, Research and Practice. 9th ed. New York, NY : McGraw-Hill.
Masood, Abdulla Badri., and others. (2006). The Baldrige Education Criteria for Performance Excellence Framework: Empirical test and validation. International Journal of Quality and Reliability Management. 23(9), 1118 - 1157.
Morgan, F. (2008, January). What makes an excellence school?. Retrieved May 8, 2018, from https://kcsdblog.wordpress.com/2008/01/01/ what-makes-an-excellent-school/.
Peters, T. J., & Waterman, R. H. (1982). In search of excellence: Lessons from Americas best-run companies. New York, NY: Harper & Row.
Strauss, A. L., & Corbin, J. M. (1998). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.