การนำแผนพัฒนาจังหวัดไปปฏิบัติของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคภายในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา แก้ไข ในการนำแผนพัฒนาจังหวัดไปปฏิบัติของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคภายในจังหวัดมหาสารคาม ผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบกรณีศึกษา (Case Study) โดยเลือกจังหวัดมหาสารคามเป็นพื้นที่สำหรับการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร แผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้อง และจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการนำแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคามไปปฏิบัติ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานประสบปัญหาในการนำแผนพัฒนาจังหวัดไปปฏิบัติ ดังนี้ 1) การบูรณาการระหว่างหน่วยบริหารราชการส่วนกลาง และหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคยังไม่ชัดเจน 2) การเปลี่ยนคณะผู้บริหารจังหวัด ในแต่ละครั้งทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลง 3) หน่วยงานผู้พิจารณางบประมาณให้ความสำคัญ เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าการพัฒนาเชิงพื้นที่ 4) หน่วยงานสังกัดที่ทำการปกครองอำเภอ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 5) การบริหารโครงการลงทุนประสบปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินการ และการติดตาม และประเมินผล ดังนั้น แนวทางแก้ไขปรับปรุงให้การนำแผนพัฒนาจังหวัดไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น มีดังนี้ 1) ควรกำหนดแนวทางในการบูรณาการ การทำงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างชัดเจน 2) ควรจัดให้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ในการพัฒนาจังหวัด เมื่อมีการเปลี่ยนคณะผู้บริหารจังหวัดในแต่ละครั้ง 3) ควรพิจารณาแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยคำนึงถึง การแก้ไขปัญหาของพื้นที่เป็นหลัก 4) ควรพิจารณาจัดสรรกรอบอัตราเพื่อรองรับภาระงานของพื้นที่ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และ 5) ควรปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การบริหารโครงการคล่องตัวมากขึ้น
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ประภาพร คำสงค์. (2554). สภาพปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. (รัฐประศาสนศาสตร). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มยุรี อนุมานราชธน. (2552). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2551). เอกสารการสอนชุด วิชาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชหน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุ่งทิพย์ เหล็กดี. (2551). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผน พัฒนาจังหวัดและงบประมาณ จังหวัดของสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2559). วิกฤตความรู้นโยบายสาธารณะไทย ในส่วนของทฤษฎีโครงการ. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9(2),18-34.
วรเดช จันทรศร.(2558). หลักการกำหนดนโยบายของรัฐ (Principles of Publicy-Making). กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฏีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
วรวุฒิ บัววัฒนา. (2546). การศึกษาการนำแผนพัฒนาเทศบาล ตำบลไปปฏิบัติ กรณีเทศบาลตำบลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ. (2553). บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดภายใต้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ.วารสารดำรงราชานุภาพ. 10(35), 24 - 27.
สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2551). การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด จังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2543). นโยบายสาธารณะ แนวคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564.. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). คู่มือการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2557 – 2560). กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้นแอนด์มีเดียจำกัด.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2556). แผนพัฒนาจังหวัดแนวใหม่ จุดเปลี่ยน
การบริหารราชการแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย..
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2552). แผนกับการพัฒนาจังหวัดละกลุ่มจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2562). ความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัดสำนักงานปลัด กระทรวงมหาดไทย. (2562). รวมกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. กรุงเทพฯ:สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.