การยอมรับของผู้บริโภคชาวไทยในกรุงเทพมหานครต่ออาหารเกาหลีที่ใช้ซอสปรุงรสในประเทศไทย

Main Article Content

Sarawoot Nienvitoon

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคชาวไทยในกรุงเทพมหานคร ต่ออาหารเกาหลีที่ใช้ซอสปรุงรสในประเทศไทย ทำการประเมินประสาทสัมผัสทั้ง 5 คุณลักษณะโดยวิธี Hedonic Scaling 9 point โดยประกอบอาหารเกาหลี ที่เป็นที่นิยมจำนวน 3 เมนู และควบคุมวัตถุดิบในการประกอบอาหารแต่ละจาน ได้แก่ 1) ซอสปรุงรสเกาหลี สำหรับอาหารประเภทซุป (Korean soy sauce for soup) ทำการทดแทนด้วย ซีอิ๊วขาวตราเด็กสมบูรณ์ ในเมนู Kkotge Tang (Crab soybean paste soup) พบว่า การปรุงด้วยซอส นำเข้าจากประเทศเกาหลี ผู้บริโภค มีคะแนนความชอบ ด้านรสชาติ และความชอบรวม มากกว่า ปรุงด้วยซอสที่ผลิตในประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 2) ซอสปรุงรสเกาหลีจิน (Korean Jin soy sauce) ทำการทดแทนด้วย ซอสปรุงรสฝาเขียว (ภูเขาทอง) ในเมนู Dukjjim (braised chicken in soy sauce) พบว่า การปรุงด้วยซอส นำเข้าจากประเทศเกาหลี ผู้บริโภค มีคะแนนความชอบ             ด้านลักษณะปรากฏมากกว่า ปรุงด้วยซอส ที่ผลิตในประเทศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ซอสปรุงรสเกาหลี 501 (Korean 501 soy sauce) ทำการทดแทนด้วย ซอสปรุงรสภูเขาทองฝาส้ม ในเมนู Cho Ganjang (soy sauce with vinegar)           พบว่า การที่ปรุงด้วยซอสที่ผลิตในประเทศ ผู้บริโภค มีคะแนนความชอบ ด้านรสชาติ และความชอบรวม มากกว่าปรุง ด้วยซอสนำเข้าจากประเทศเกาหลี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มหัทธนทวี. (2552). ความสำคัญของกลิ่นรสอาหารโดยเทคนิค Gas Chromatography-Olfactometry (GC-O). วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 5(1),.มิถุนายน – พฤษภาคม.
ดารณี สุขรอด. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วเน่าก้อน. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
พุทธิวดี เจียสกุล และธงชัย สุวรณสิชณน์. (2556). ปัจจัยที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อและการจำแนกกลุ่มตามลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ซอสพริก. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ไพรโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). คณะอุตสาหกรรมเกษตร เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/36839.aspx#
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประเมินค่า. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2560). พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนกรุงเทพฯ. สืบค้นจาก https://www.bltbangkok.com/lifestyle/urban-living/3877/
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. (2561). ข่าวเศรษฐกิจ. สืบค้นจากhttp://www.ryt9.com/s/tpd/2913551
Kim, S. H., Kim, M. S., Lee, M. S., Park, Y. S., Lee, H. J., Kang, S. A., & Lee, Y. E. (2016). Korean diet: characteristics and historical background. Journal of Ethnic Foods. 3(1), 26 - 31.
Korean Food Foundation (KFF) (2014). The Korean Kitchen: 75 healthy, delicious and easy recipe. 1st ed. Republic of Korea. Youngshin Printing & Binding Company.
Lee, Y. J. (2010). The effects of Korean food globalization on foreigners' perception of wellbeing value and experience with Korean food. Journal of the Korean Society of Food Culture. 25(5), 487 - 498.
Meilgaard, C. Morten; Civille; Gail Vance; and Carr, B. Thomas. (2007). Sensory Evaluation Techniques. CRC Press. Baca Raton.
Meilgaard, C. Morten; Civille; Gail Vance; and Carr, B. Thomas. (2007). Sensory Evaluation Techniques. CRC Press. Baca Raton.
Pangborn, R.M. (2003). Sensory techniques of food analysis. In Food Analysis, Principles and Techniques. 1 : Physical Characterization. (pp. 61 - 68).
Resurrection, V.A. Anna. (1998). Consumer Sensory Testing for Product Development. An ASPEN: Maryland.
Stone, Herbert; and Side, J.L. (1993). Sensory Evaluation Practices. 2nd ed. New York: Academic Press.