พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการมาท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวภายใน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวภายใน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 จำนวน 625 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยว ในกลุ่มจังหวัด ส่วนใหญ่มาเที่ยวในกลุ่มจังหวัดแบบไปเช้า – เย็นกลับ เป็นการมาท่องเที่ยวด้วยตนเอง และมีผู้ร่วมเดินทางส่วนใหญ่เป็นครอบครัว และญาติ จำนวน 1-5 คน และมาท่องเที่ยวในวันเสาร์ - อาทิตย์ นอกจากนี้ นิยมมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อนมากกว่าฤดูฝน และมาท่องเที่ยวตามเทศกาลงานประเพณีในกลุ่มจังหวัดจัดขึ้น ส่วนข้อมูลการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดส่วนใหญ่มาจากเพื่อนหรือคนรู้จัก และสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต เช่น แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ ระยะทาง สภาพเส้นทางสภาพอากาศ จองที่พัก สืบค้นร้านอาหาร สืบค้นข้อมูลของฝาก จองสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาท่องเที่ยว เพื่อการพักผ่อน และความบันเทิง (มากราบพระและท่องเที่ยวบันเทิง) รองลงมาท่องเที่ยวเชิงศาสนา และวัฒนธรรม ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวภายในกลุ่มจังหวัด พบว่า นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดให้ความสำคัญในปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภา มากที่สุด รองลงมา เป็นด้านคนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ด้านการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว และด้านราคาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ตามลำดับ
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562.จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php? cid=411.
กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. (2562). ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562จาก http://www.osmnortheast-n2.moi.go.th/
ชดากร สถิต. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ไทยในการเลือกที่พักแรมเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3), 227 - 236.
ชมพูนุท สมแสน ละเอียด ศิลาน้อย และกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยว ถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10(2), 184 - 198.
ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 4(1), 30 - 45.
วรากร คำปลิว, บังอร ฉัตรรุ่งเรือง และศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางแบบผจญภัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 12(2), 139 - 148.
สามารถ ปิติพัฒน์ และกฤษฎา ณ หนองคาย. (2556). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences. 9(3), 241 - 261.
สำนักงานสถิติแห่งชาติและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางของชาวไทย พ.ศ. 2556. รายงานการวิจัยสำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Kotler, P. & Armstrong, G. (1997). Marketing : an introduction. Saddle River, New York: Prentice-Hall, Inc.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 - 610.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. (2nded). New York: Harpers and Row.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nded). New York: McGraw - Hill.
Stephen, S., & Molly, F. (2014).Validity Evidence based on Test Content. Psicothema. 26(1), 100 - 107.