ศักยภาพในการพึ่งตนเองของคนจนในเชิงบูรณาการ; Potential for Integrated Self-Reliance of the Poor

Main Article Content

ชาตรี ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อสร้างตัวชี้วัดในการพัฒนาศักยภาพด้านการพึ่งตนเองของคนจน ประการที่สอง
เพื่อศึกษาศักยภาพในการพึ่งตนเองของคนจน และประการที่สามเพื่อศึกษาสาเหตุแห่งปัญหาด้านศักยภาพในการพึ่งตนเอง
ของคนจน ในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกำหนดสัดส่วนแล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)
ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ค่า เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและใช้การสัมภาษณ์ผู้ใช้ข้อมูลหลัก
แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สร้างตัวชี้วัดในการพัฒนาศักยภาพด้านการพึ่งตนเองของคนจนในเชิงบูรณาการ ได้ 8 ด้าน รวม 31 ตัวชี้วัด
คือ ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาและการบริหารจัดการ ด้านการเมือง
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ และด้านศาสนาและปรัชญา
2. ศักยภาพในการพึ่งตนเองของคนจนในเชิงบูรณาการในจังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่
ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาและการบริหารจัดการ ด้านการเมือง และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และด้านศาสนาและปรัชญา
3. สาเหตุแห่งปัญหาด้านศักยภาพในการพึ่งตนเองของคนจนในจังหวัดมหาสารคาม ที่มีอยู่ในคนจนบางกลุ่ม
ประกอบด้วย ความยากจนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ศักยภาพในการพึ่งตนเองด้อยลง ขาดแคลนปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค หรือได้รับปัจจัยดังกล่าวไม่เพียงพอ ขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องอำนวย
ความสะดวก ในชีวิตประจำวัน เช่น ยานพาหนะ เป็นต้น ขาดความศรัทธาและยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา ทำให้เกิดความ
ทุกข์ใจได้ง่าย ขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานอาชีพที่เพียงพอต่อการหาเงินและทรัพย์สิน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ติดอบายมุข เช่น บุหรี่ สุรา การพนัน การเที่ยวเตร่ ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือ มีน้อยเกินไป ขาดผู้นำในชุมชนที่เข้มแข็ง
ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและที่มุ่งไปสู่การเรียนรู้ ขาดโอกาสในการเข้าถึงทุนสนับสนุนในการศึกษา เรียนรู้ พัฒนาตนเองและ
การลงทุน มีปัญหาสุขภาพ (ทั้งสุขภาพกายและรวมถึงสุขภาพจิต ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ความสามารถในการปรับตัว
เข้ากับสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป กติกาสังคมไม่เป็นธรรม คนบางกลุ่มมีโอกาสแสวงหาประโยชน์และ
เอาเปรียบคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคม และขาดอำนาจต่อรอง

The purposes of this research were to determine the potential indicators for the integrated
self-reliance of the poor, to survey the potential for the self – reliance of the poor and to analyze
the problems of self-reliance of the poor in Maha Sarakham province. The sample subjects were
selected by quota and simple random sampling. The data were collected by a questionnaire and
interview. The research statistics used were percentage, mean and standard deviation.
Results of the research were as follows:
1. The research results showed that thirty one indicators of 8 areas were determine the
potential for the integrated self-reliance of the poor: economy; society and culture; education, problem
analysis and management; politics; environment; science and technology; health; religion and
philosophy.
2. The result indicated that the average level of the potential for the integrated self-reliance of
the poor in Maha Sarakham province was moderate. The four moderate level areas of the potential
were economy; education, problem analysis and management; science and technology; and politics.
The four high-level areas of the potentials were science and culture; environment; religion and
philosophy; and health.
3. Regarding the problems, it indicated that the causes of the problems were as follows: their
poverty in the past and present; lack of basic needs: food, clothes, home and medicine; shortage of
tools and facilitators used in daily life such as vehicles; no belief in the religious principles; lack of
knowledge and professional skills; lack of self confidence, bad behaviors such as smoking cigarette,
drinking alcohol, heavy gamblers, spending night life about, shortage of land for agriculture; no strong
village leader; shortage of strong community for learning; lack of opportunity to get financial support for
their education, self-development and investment; health problems and family problems; lack of ability in
adjust to the environment, society and changing culture; unfair social regulations; social advantage of
some bad people; and lack of negotiation power.

Article Details

บท
บทความวิจัย