พื้นที่ทางสังคมและรูปแบบการใช้ชีวิต : การศึกษาข้ามวัฒนธรรม (ไทย ออสเตรเลีย)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตตามลักษณะพื้นที่ทางสังคม (ทั้งในภาพรวมและรูปแบบ การใช้ชีวิตย่อย 6 รูปแบบ) ในประเทศไทยและออสเตรเลีย และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ชีวิตตามลักษณะพื้นที่ทางสังคม ระหว่างตัวอย่างจากประเทศทั้งสอง ตัวอย่างในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรี จำนวน 213 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้งบประมาณเป็นหลัก ตัวอย่างได้มาโดยสุ่มแบบบังเอิญ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย 112 คน และมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดรูปแบบการใช้ชีวิต มีค่าอำนาจจำแนกด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมอยู่ระหว่าง .54 - .88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .79 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
- ในเขตเมืองและเขตชนบท พบว่าตัวอย่างจากทั้งสองประเทศ มีแบบแผนการใช้ชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้นแบบอนุรักษ์นิยมและแบบชอบใช้ชีวิตที่บ้าน ตัวอย่างจากไทย พบในระดับสูง ตัวอย่างจากออสเตรเลียในเขตเมือง นิยมแบบสุขภาพนิยม ต่ำสุด ได้แก่ แบบแสวงหาความก้าวหน้า ในเขตชนบทนิยมแบบท่องราตรี ต่ำที่สุดได้แก่แบบอนุรักษ์นิยม ตัวอย่างจากไทยทั้งเขตเมืองและเขตชนบท นิยมแบบอนุรักษ์นิยม ต่ำที่สุดได้แก่แบบท่องราตรี
2. แบบแผนการใช้ชีวิตของสองประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยตัวอย่างจากไทยจะมีคะแนนแบบแผนการใช้ชีวิตมากกว่าตัวอย่างจากออสเตรเลียในภาพรวมและในรายด้านทุกด้าน ยกเว้นแบบแผนการใช้ชีวิตแบบท่องราตรีและแบบแผนการใช้ชีวิตแบบสุขภาพนิยม ที่ตัวอย่างจากออสเตรเลียมีแบบแผนการใช้ชีวิตมากกว่า
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Ashton, M.C.(2019). Individual Differences and Personality. (3rd ed.). London: Academic Press.
Barry, M.M., Van Lente, E., Molcho, M., Morgan, K., McGee, H., Conroy, R. & Perry, I.(2009). SLÁN 2007: Survey of Lifestyle, Attitudes and Nutrition in Ireland: Mental Health and Social Well-being Report.
Carson, R.C. (2019). Interaction concepts of personality. New York: Routledge Taylor & Francis Group.
Cosmas, S.C. (1982). Life styles and Consumption Patterns. Journal of Consumer Research, 8(4), 453 - 455.
Dowdy, S., Wearden, S. and Chilko, D.(2004). Statistics for Research. Thirth edition. New Jersey. Wiley-Interscience A John Wiley & Sons, Inc. Publication.
Dao-Tran, H.T., Seib, C., Jones, L. and Anderson, D. (2014). A cross cultural comparison of health related quality of life and its associated factors among older women in Vietnam and Australia. BMC Research Notes. 11(174), 1 – 7.
Favaretto, R.M., Musse, S.R. and Costa, A.B. (2019). Emotion, Personality and Cultural Aspects in Crowds: Towards a Geometrical Mind. Switzerland: Springer International Publishing.
Healey, J.F. (2015). The Essentials of Statistics : A Tool for Social Research. Boston: Wadsworth Publishing.
Hofstede, G. and McCrae, R.R. (2004). Personality and culture revisited : Linking traits and dimensions of culture. Cross-cultural research, 38(1), 52 - 88.
Li, Y., Pan, A., Wang, D. D., Liu, X., Dhana, K., Franco, O. H., & Hu, F. B. (2018). Impact of healthy lifestyle factors on life expectancies in the US population. Circulation, 138(4), 345-355.
Mazhariazad, F. and Rozbe, N.(2014). The relationship between lifestyle and general health of students at
Islamic Azad University of Bandar Abbas. Hormozgan Medical Journal. Vol 18, No. 6, Feb-Mar 2015 : 482 - 489.
Tabachnick, B.G. and Fidell, L.S.(2014). Using Multivariate Statistics Pearson New International Edition. New York. Pearson.
Thirlaway, K. and Upton, D.(2009). The Psychology of Lifestyle: Promoting Healthy Behaviour. Routledge Publishing.