ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกจังหวัดนครพนมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกจังหวัดนครพนมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE และ (2) หาแนวทาง การพัฒนาอุตสาหกรรม MICE ในจังหวัดนครพนม เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการการสัมภาษณ์ผู้จัดงานที่มาใช้บริการสถานที่ในการจัดกิจกรรม MICE ที่อาคารศรีโคตรบูรณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อ การเลือกจังหวัดนครพนม เป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE จากกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าร่วมงานที่อาคารศรีโคตรบูรณ์ คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่น 0.94 ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกจังหวัดนครพนม เป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1.1 ด้านที่พัก 1.2 ด้านสถานที่ท่องเที่ยว 1.3 ด้านความมั่นคงและความปลอดภัย 1.4 ด้านการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน 1.5 ด้านความสามารถของบุคลากรที่จัดงาน 1.6 ด้านสถานที่จัดงาน 1.7 ด้านภาพลักษณ์ของจังหวัดนครพนม และ 1.8 ด้านการเข้าถึง โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกจังหวัดนครพนมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE ไม่แตกต่างกัน
2. แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พบว่า ควรมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนและที่สำคัญประชาชนทุกคนในจังหวัดต้องมีการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแสดงออกถึงการทำกิจกรรมร่วมกัน การเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์ให้จังหวัดนครพนมเป็นที่รู้จัก ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE และจัดตั้งศูนย์กลาง MICE เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การพัฒนาบุคลากร การจัดฝึกอบรม ส่งเสริมการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมีการประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังควรให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานของสถานที่ในการจัดงานประชุม และนิทรรศการให้ได้มาตรฐาน รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE ได้เป็นจำนวนมาก ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องประชุม รวมไปถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม MICE เพื่อที่จะได้พัฒนาในเรื่องของการบริการให้ได้มาตรฐานต่อไปในอนาคต จากนั้นสรุปตัวชี้วัดรายด้านตามลำดับ ความสำคัญในการเสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดนครพนมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม MICE ต่อไปในอนาคต
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2547). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม. (2562). 5 มิติใหม่ปฏิวัติอุตสาหรรก การท่องเที่ยวไมซ์ปี 2562. นครพนม: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม.
กันตภพ บัวทอง. (2552). กลยุทธ์การพัฒนาตลาดไมซ์ของจังหวัดชายแดนริมแม่น้ำโขง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2557). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2557). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐกานต์ รองทอง. (2555). ศึกษาความพร้อมของเมืองในด้านธุรกิจการจัดประชุมหรือไมซ์ (MICE) พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ในจังหวดขอนแก่นเพื่อรองรับการเป็นไมซ์ ซิตี้ ของ ประเทศไทย. วารสารการบริหารและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 15 - 29.
ดุษฎี ช่วยสุข และดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อรองรับการเป็นไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 17 – 19.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). อุตสาหกรรมการทองเที่ยว. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ไพศาล มะระพฤกษวรรณ. (2557). การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ โอกาสการเป็นฮับด้านไมซ์ของไทยใน AEC. วารสาร TPSO, 1(1), 1 - 2.
ปวิธ ตันสกุล. (2550). อุตสาหกรรมการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดสัมมนา และนิทรรศการในประเทศไทย : การประเมินศักยภาพของศูนย์การประชุม ศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 156 - 173.
พิทักษ์ชัย ทศดร และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2559). แนวทางการพัฒนาพัทธมิตรทางธุรกิจด้านไมซ์ (MICE) ของผู้ประกอบการโรงแรมในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. ฉบับพิเศษ (มกราคม 2559), 126 - 138
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2552). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติ สำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 329-364.
มนัส ชัยสวัสดิ์ และคณะ. (2552). ศึกษาความพร้อมของเมืองใน ด้านธุรกิจการจัดประชุมหรือไมซ์ (MICE) พื้นทีจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
วิทยา ด่านธำรงกูล. (2547). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น,
วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2560). การพัฒนาการรวมกลุ่มแบบเครือข่ายวิสาหกิจด้านการท่องเที่ยว: แนวคิดและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ประจักษ์สิน.
ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2551). การสร้างบริการเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 21(1), 99 - 120.
สาลีนี ทิพย์เพ็ง, เสรี วงษ์มณฑา, ชุษณะ เตชคณา และชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา, 14(12), 299-310.
สุจิตรา จันทนา. (2558). ทัศนคติของนักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (MICE) ของชาวต่างชาติที่มีต่อการบริการของ โรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(2), 58 - 65.
Dabsomdet. (2010). Marketing strategy of MICE Industry in
Thailand. Retrieved from http://methawit.blogspot.com/2012/04/blog-p ost.html. (in Thai)
Lumsdon. (1999). Motivation and Personnality. Bankkok:
Express Net.
Kotler, P., and Keller, K. L.(2012). Marketing Management. (14th ed). USA: Prentice Hall.