แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2

Main Article Content

นวภัทร แสงห้าว
จำเนียร พลหาญ
และวรวรรณ อุบลเลิศ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนที่ทำหน้าที่หัวหน้างานอาคารสถานที่ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 426 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1.    ระดับการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยรวมมีระดับผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมใช้แหล่งเรียนรู้  ด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

  2.  แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนา  และใช้แหล่งเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อม และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม ให้มีความพร้อม และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหา และร่วมกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ทั้งภายใน ภายนอกสถานศึกษา ตามความสนใจ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ให้สามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มุกดารักษ์ ปาสาบุตร. (2555). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อดิพันธ์ อมาตยคง. (2552). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2555). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554. มหาสารคาม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
พรรณี เสี่ยงบุญ. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำเภอนาดูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคามเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กนก บุตรวงษ์. (2548). การศึกษาการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอหนองสองห้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธ วงษ์ปัญญา. (2548). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอโกสุมพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริญญา ไตรพรหม. (2552). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา : โรงเรียนวัดทำใหม่ โรงเรียนวัดศรีภวังค์ และโรงเรียนวัดลาดระโหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.