แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Main Article Content

นิตยา ทองจันฮาด
สมาน เอกพิมพ์
สุรกานต์ จังหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาหลักสูตรจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยใช้การวิจัยแบบผสม ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย          การกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 120 คน จากวิทยาเขตมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติทั่วประเทศ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสังเกต ขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางพัฒนาหลักสูตรจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียน           ที่ทางมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ให้นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์ ในระดับประถมศึกษา 2 คน ระดับมัธยมศึกษา 2 คน และผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษา 2 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า


  1. นักศึกษามีจิตลักษณะความเป็นครูด้านจิตวิทยาการ อยู่ในระดับมาก โดยใฝ่เรียนรู้ระดับหนึ่ง แสดงความคิดเห็นได้ สนใจ        การเรียนการสอน แบบปฏิบัติมากกว่าการเรียนการสอน แบบทฤษฎี ผู้สอนต้องคอยกระตุ้น ด้านจิตสังเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยแสดงความคิดเห็นได้ ไม่ค่อยสนใจการเรียนการสอนแบบทฤษฎี สรุปรวบรวมงานไม่ค่อยได้ ผู้สอนต้องคอยกระตุ้น ด้านจิตการสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก แต่นักศึกษามีคำถามอยู่ในบทเรียนเท่านั้น อธิบายการทำงานได้ตามกรอบที่วางไว้ ไม่คิดนอกกรอบ ด้านจิตเคารพให้เกียรติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักศึกษายอมรับความคิดเห็นคนอื่น ควบคุมตนเองได้ดี ทำงานร่วมกับคนอื่นได้เป็นอย่างดี และด้านจิตคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ด้วยความเต็มใจ ปฏิบัติตนในสังคมอย่างเหมาะสม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

       2.  แนวทางพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ  ควรนำเอาจิตลักษณะความเป็นครู ด้านจิตวิทยาการ ที่ไม่ค่อยสนใจใฝ่เรียนรู้ใน ด้านทฤษฎี ด้านจิตสังเคราะห์ที่วางแผนการทำงานไม่ค่อยได้ ควบคุมตนเองได้แต่ครูพี่เลี้ยงต้องคอยแนะนำ และด้านจิตการสร้างสรรค์ที่นักศึกษาไม่สามารถแก้ปัญหาตามคำแนะนำ ตั้งคำถามได้ตามจุดประสงค์เท่านั้นไม่สามารถคิดนอกกรอบได้มากำหนดแนวทางการพัฒนา โดยยึดหลักการทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลด้านจิตลักษณะซึ่งอาศัยแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาในหมวดเฉพาะความเป็นครูวิชาชีพ ในการกำหนดกิจกรรมของหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษากระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2543). รายงานวิจัยเอกสาร เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เพื่อความเป็นผู้นำของการครูศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช.(2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564.สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
สุวิมล ตั้งสัจจพจน์. (2540). สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลศึกษาและนันทนาการ. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสดิวดิโอ.
Gardner, Howard. (2008). Five Minds for the Future. Boston: Harvard Business School.
Smith, Andy (2009). Cultivating the Respectful Mind with Games and Simulation. In 2nd European Conference on Game Based Learning. 41-42
Taba Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and practice. New York: Harcourt Brace.