รูปแบบเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

Main Article Content

สุวิมล โพธิ์กลิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมองค์ประกอบของรูปแบบการดำเนินงานเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบ จำนวน 9 คน ศึกษาปัญหาและแนวทางจากผู้บริหารสถานศึกษา และพนักงานครูเทศบาล ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 178 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12  คน พนักงานครู จำนวน 166 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบ และแบบสอบถามสภาพปัญหาและแนวทางใน การดำเนินงานของเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


                        1.  องค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการดำเนินเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักที่ 3 คุณภาพผู้เรียนและผลการตรวจสอบ ความเหมาะสมขององค์ประกอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


                       2.   สภาพปัญหาการดำเนินงานเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงานเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพของผู้บริหาร การสรุปรายงานผล และการวางแผน การสรุปรายงานผล แนวทางใน การดำเนินงานเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพ มีดังนี้ มีการเสริมสร้างทักษะทางวิชาการแก่ผู้บริหาร สร้างค่านิยมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมมือรวมพลัง เปิดรับการชี้แนะในการปฏิบัติงาน และมีการสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงานร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมพล ไชยนันท์. (2554). ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในภาคเหนือตอนบน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 6(14), 103 - 114.
จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 33(1), 26 - 35.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม.(2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับ เครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปภาวี พิพัฒนลักษณ์ .(2559). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิดภาวะผู้นำที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (44)10, 111 - 128.
พิเชฐ เกษวงษ์. (2556). การนำเสนอแนวทางการสร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทาวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. (น. 123 - 134.) สงขลา.
Carpenter, D. (2015)“School Culture and Leadership of Professional Learning Communities,” International Journal of Educational Management. 29(5), 682 - 694.
Flores, M., G. M. Bulnes and G. M. Quintanilla. (2015). Building a Professional Learning Community: A Way of Teacher Participation in Mexican Public Elementary School. International Journal of Educational Leadership and Management. 3(2), 13 - 143.
Hord, S.M. (1997). Professional learning communities : Communities of inquiry and improvement. Austin : Southwest Educational Development Laboratory. Form journal.oas.psu.ac.th/index.php/ asj/article/viewFile/125/688
Senge, P. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. New York: Currency Doubleday.
Sergiovanni, T. (1998). International Journal of Leadership in Education. 1(1), 37.