ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Main Article Content

สุวพิชญ์ โพธิ์ไทรย์
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
สุเมธ งามกนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า


1.   ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน และภาวะผู้นำ การเปลี่ยนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก


2.   ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ และปัจจัยด้านการบริหารจัดการในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3.   สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นารินทร์ เดชสะท้าน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
นิตยา วิเศษยา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์.(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2552). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศุภมาสวิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุกัญญาแช่มอินทร์.(2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภาภรณ์ เอกเผ่าพันธ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฮานันย์ นาวินพัฒนรัตน์. (2554). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1, 2 และ 3. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Bass, B. M.andB. J. Avolio. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California:Consulting Psychologists.
Dubrin, A. J. (2000). Essentials of Management. 5th ed. New York: South-Western College.
Goleman, D., R. (2002). The New Leaders : Transforming the Art of Leadership into the Science of Results. New York: Little, Brown.
Kotter, J. P. (1999). John P. Kotter on What Leader Really do? Boston, Mass: Havard Business School Press.
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Values. New York: McGraw-Hill.