การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ในเขตตรวจราชการที่ 12

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ ถวิลไพร
ศิริ ถีอาสนา
วรประภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา มี 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ 4 โรงเรียน 24 คน ผู้ให้ข้อมูลภาคสนาม 2 โรงเรียน 14 คน เครื่องมือ คือแบบวิเคราะห์เอกสาร                  แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหา หาร้อยละ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบ 9 คน ประเมินรูปแบบ 7 คน เครื่องมือ คือ แบบบันทึกการสัมมนา แบบยืนยันประสิทธิภาพแบบประเมินคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีปัญหา (55.08%) มากที่สุด คือ ด้านข้อมูลย้อนกลับ (75.00%) พบว่า ไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับ รองลงมา คือ ด้านผลผลิต (59.17%) พบว่า นักเรียนจบช้า ผลสัมฤทธิ์ต่ำสอบเรียนต่อได้น้อย ผลงานไม่ประจักษ์ชัดด้านกระบวนการแปรสภาพ (57.50%) พบว่า บริหารงานไม่เป็นระบบ รูปแบบไม่ชัดเจน ไม่นิเทศติดตามประเมินผล ไม่วิเคราะห์ข้อมูล ขาดนวัตกรรมพัฒนางาน ไม่ต่อเนื่อง ด้านปัจจัยนำเข้า (55.21%) พบว่า ทรัพยากรและงบประมาณไม่เพียงพอ ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า ขาดแหล่งเรียนรู้ คุณภาพผู้เรียนต่างกันมาก และน้อยที่สุด คือ ด้านบริบท (53.57%) พบว่า ครูรายได้ไม่พอ ไม่อุทิศเวลาใช้เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้น้อย ผู้ปกครองยากจนไม่เอาใจใส่ผู้เรียน ผู้เรียนได้แบบอย่างที่ไม่ดี แนวทางการบริหารส่วนใหญ่ใช้ การบริหารเชิงระบบและการมีส่วนร่วม ดำเนินงานภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ มี 6 องค์ประกอบหลัก 31 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านบริบท 7 องค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า 8 องค์ประกอบ ด้านกระบวนการแปรสภาพ 6 องค์ประกอบ ด้านผลผลิต 3 องค์ประกอบ ด้านผลลัพธ์ 3 องค์ประกอบ ด้านข้อมูลย้อนกลับ 4 องค์ประกอบ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า รูปแบบมีคุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชฎาภรณ์ อร่ามรุณ. (2556). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 45-54.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2541). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.
ญาณิศา บุญจิตร์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ, 2(5), 2-30.
นิตยา แสนสุข. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
พนม วิทยานุกรณ์. (2545). การศึกษากระบวนการบริหารเชิงระบบโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานกับโรงเรียนเอกชนที่ยังไม่ได้รับรองมาตรฐานในเขตการศึกษา 12 ปีการศึกษา 2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไรพรรณี.
มนูญพันธ์หล่อ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
รวี จันทะนาม. (2557). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิภา ทองหงำ. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมล เดชะ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สงขล : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่,
สจีวรรณ ทรรพวสุ และไสว ศิริทองถาวร. (2555). การพัฒนากระบวนการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สมจิตร พึ่งหรรษพร. (2552).การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบในการบริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541 ก). ชุดฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง บริหารศาสตร์ เล่ม 3. กรุงเทพฯ: คัมปายอิมเมจจิ้ง จำกัด.
สำเร็จ อาจธะขันธ์.(2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงระบบของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ท.
สุภัทร พันธ์พัฒนกุล. (2554).การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อนงค์ พืชสิงห์. (2553).การพัฒนาระบบการบริหารที่มุ่งประสิทธิผลในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุดมชูลีวรรณ. (2559).รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Kaufman, R.A..(1972). Educational System Planning. New Jersey: Prentice–Hall,.
Lessinger, L.M. (1970).Every Kid a Winner :Accountabiility in Education. Palo Alto, Calif.: Science Research Associates College Division.
Ashworth, A. and Harvey, R.C. (1994).Assessing Quality in Future and Higher Education. London: Jessica Kingsley Publishers.
Owens, R.G. (1998).Organizational Behavior in Education. 5th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Hoy, W.K. andMiskel, C.G. (2001).Educational Administration Theory, Research, and practice. 6th ed. New York: McGraw - Hill Inc.
Purkey, S.C., and Smith, M.S. (1983). “Effective Schools : A Review.” Elementary SchoolJournal. 83, 427 - 452.
Sergiovanni, T.J. (1984). “Leadership and Excellence in Schooling,” Educational Leadership, 41(5), 4 - 13.
Barnett, R.(2010). The Ideal of Academic Administration 2006. (online) Available :http://interscience wiley.com/doi/10.111/j. 1467-9752. 1993.tb00654.x/abstract, July 1.
Babara, T. (1998). “The Mediating Effect of Participation and Process Outcomes on Evaluation Use in British Columbia School Accreditation” Dissertation Abstract International. 59(5Z) : 1425 - A.
Edmonds, R.R. (1979) “Effective schools for the Urban poor,” Educational Leadership.
Fayol, H. (1949). General and Industrial Administration. London: Sir lsaac Pitman & Sons.
Glickman, C.D. (1981).Developmental Supervision : Alternative Practive for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.
Murangi, K.V. (1996). “Instructional Supervision in Namibia : A study of High school teacher and supervisor perceptions (Africa)” Disseartation Abstracts International. 53(12), 242 – 248.
Lunenburg, F.C. & Ornstein, A. C. (2012). Educational administration. 6thed. Wadsworth, Cengage Learning.
Lunenburg, F.C. & Ornstein, A. C. (2001). Educational Administration: Concept and practices. 3rd ed. Belmont, California: Wadsworth/Thomson Learning.