การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R

Main Article Content

ปาริชาติ นามน้าวแสง
ประสพสุข ฤทธิเดช
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R 3) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม โดยใช้เทคนิค SQ4R กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาโปน้อย สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษามุกดาหาร  จำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถชนิดเลือกตอบ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน Wilcoxon Singed – Rank Test ผลการวิจัยพบว่า


                        1) การจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.15/82.73 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R มีค่าเท่ากับ 0.5615 หรือร้อยละ 56.15 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเทคนิค SQ4R มีความสามารถการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม โดยใช้เทคนิค SQ4R โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชฎารัตน์ ภูทางนา. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอน แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง1 (บุรวิทยาคาร). การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6. 424 – 427.
ณัฎฐิรา เตโชวิทวัสกุล. (2562). รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563. จาก
http://trang2.go.th/index.php?module=schoolnews&id=626
ธิดา บู่สามสาย. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(3),191 - 204.
บำเพ็ญ มาตราช. (2555). การพัฒนากิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 4(9), 61 - 67.
พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8(1),312 - 327.
เมขลา ลือโสภา. (2556). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอน SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(1), 107 - 116.
รัตนภัณฑ์ เลิศคำฟู. (2547). การใช้วิธี SQ4R ในการสอนการอ่านสำหรับแนวคิดหลักสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรัญญา บุญมี. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศศิธร ไชยเทศ.(2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และการยอมรับนับถือตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6(1), 19 – 29
ศิวกานต์ ปทุมสูติ. (2540). การอ่านเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.
อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอน SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. 320-331.