ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าสินค้ากับการอยู่รอดขององค์กรของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าสินค้ากับการอยู่รอดองค์การของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจ SMEs จำนวน 163 คน ถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารธุรกิจ SMEs มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับกลยุทธ์การเพิ่มมูลค้าโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และด้านการใช้ตราสินค้า อยู่ในระดับมาก และผู้บริหารธุรกิจ SMEs มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการอยู่รอดขององค์กร ด้านผลิตภาพ อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนการอยู่รอดขององค์กรโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการทำกำไร ด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน และด้านความร่วมมือของบุคลากร อยู่ในระดับมาก
ผู้บริหารธุรกิจ SMEs ที่มีระยะเวลาในการดำเนินงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการอยู่รอดขององค์กรโดยรวมและ รายด้าน ได้แก่ ด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านผลิตภาพ และด้านความร่วมมือของบุคลากรแตกต่างกัน และผู้บริหารธุรกิจ SMEs ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการอยู่รอดขององค์กรโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภาพ และด้านความร่วมมือของบุคลากรแตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าสินค้า ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และด้านการใช้ตราสินค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการอยู่รอดขององค์กรโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสามารในการทำกำไร
ด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านผลิตภาพ และด้านความร่วมมือของบุคลากรโดยสรุป ผู้บริหารธุรกิจ SMEs ควรให้ความสำคัญ กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยเน้นการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้บริโภค เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และเน้นออกแบบผลิตภัณฑ์ และการตั้งชื่อตราสินค้าที่ลูกค้าสามารถจดจำผลิตภัณฑ์และชื่อตราสินค้าได้ง่าย และแตกต่างจากคู่แข่งขัน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมส่งเสริมการส่งออก. (2559). แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของ SMEs. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562 จาก:https://www.sme.go.th/upload/mod_download/ chapter-9-20171024123942.pdf
ชลลณา กุลสุวรรณ. (2556). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าของธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนวิน สาตสิน. (2559). ผลกระทบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมัยใหม่เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผล การดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
บุษบา หรัญรัตน์. (2559). ผลกระทบของศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยาภรณ์ คายิ่งยง. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากเศษไม้. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประวิตร สายแก้ว. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดภายในกับผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมประเภทธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
มะลิจันทร์ ทองคำ และคณะ. (2555). หลักการตลาด. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งนภา ทองเชื้อ. (2556). ผลกระทบของกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เชิงพลวัตรที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. (2558). Principles of marketing : the modern business management lead to successful. สงขลา: สเตรนเจอส์ บุ๊ค.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด = Principle of maketing. (พิมพ์ครั้งที่ 9.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิลาสินี ทองเฉลิม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์
จากรายงานทางการเงินกับ ความอยู่รอดขององค์กรของธุรกิจ SMEs ประเภทไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีระเดช นารินทร์. (2554). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกร : กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 7(1), มกราคม – มิถุนายน, 2560.
ศิริพรรณ หอมไกล. (2555). กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าบุคคลคริสโตเฟอร์ไรท์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สถิตย์ รินทา. (2553). ผลกระทบของประสิทธิภาพการจัดการความคิดสร้างสรรค์และกลยุทธ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีผลต่อการดำเนินงานแขนงธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2562). บทสรุปผู้บริหารรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2562. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ
สุชาติ อุดมโสภกิจ. (2556). เทคโนโลยีสาสนเทศยุคมาเร็วเคมเร็ว. Innmag, 40(228), 38–42.
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York: John Wiley & Son.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. USA: John Wiley & Son, Inc.
Holtzman, M. (2011). Nonmarital Unions, Family Definitions, and Custody Decision Making. Family Relations, 60(5).
Kim R. &Young A. (2005). Product variety strategy for improving new product development proficiencies. Technovation, 25(9), 1001 – 1015.
Kowang, T. O., & Rasli, A. (2012). Application of Focus Index in New Product Development. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 40, 446 - 450.
Kumar, V., & Christodoulopoulou, A. (2014). Sustainability and branding: An integrated perspective. Industrial Marketing Management, 43(1), 6 – 15.
https://doi.org/10.1016/j.indmarman.2013.06.008
Nunnally, J. C. and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. New York: McGraw – Hill.
Nunnally, J. C. (1987). Psychometric theory (2nd ed.). New York: NY: McGraw-Hill.
Zhang, L., Zhang, L., Mou, X., & Zhang, D. (2011). FSIM: A feature similarity index for image quality assessment. IEEE Transactions on Image Processing, 20(8), 2378 – 2386.