การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสำหรับครู ระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสำหรับครู ระดับมัธยมศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา 4) ประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินสมรรถนะ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน แบบรูบริคสกอร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับระดับมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบสมบูรณ์ 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดหมาย 3) สมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน 4) สาระที่ใช้ในการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 5) กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน 6) สื่อการเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดหมาย องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสำหรับครู องค์ประกอบที่ 6 ด้านสื่อการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 7 ด้านการวัดผลและประเมินผล และมีระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 4 และองค์ประกอบที่ 5 และ ค่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสี่กลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน
2. ผลการใช้พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาผลการทดสอบความรู้การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาก่อนและหลังการดำเนินการใช้โปรแกรมเมื่อเปรียบเทียบความรู้การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หลังการพัฒนากับก่อนการพัฒนา พบว่า ครูมีความรู้การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ผู้รับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อ การดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จินตนา ใบกาซูยี และคณะ. (2543). คู่มือบรรณาธิการ : สำหรับนักเขียน บรรณาธิการ และผู้พิมพ์. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). เทคนิคการจัดทำและนำ Job competency ไปใช้งาน : ฉบับคนทำงาน. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
นัฎชฎารัตน์ ณ นคร. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูประถมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน.. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปรีชาญ เดชศรี และปริชาติ เบ็ญจวรรณ์. (2552). การศึกษาแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์นานาชาติ TIMSS 2007. กรุงเทพฯ: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่งจํากัด.
พิมพิกา จันทไทย. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาทีมงานครูที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศักดิ์ดา คำโส. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง อำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริลักษณ์ สามารถ. (2554). โปรแกรมพัฒนาครูเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาและการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตาม ลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
สำนักมาตรฐานวิชาชีพ. (2548). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. (2559). รายงานการศึกษาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการ อบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สมภพ ปราบณรงค์. (2535). ความจำเป็นในการฝึกอบรมของสหภาพแรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หรรษา สุขกาล,พรชุลี อาชวอำรุง และศิริพร ตันติพูลวินัย (2543). การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อ้อม ประนอม. (2553). พิชิตงานเบิกบานใจ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จำกัด.
Castle, S., Fox, Rebecca K., & Sounder, K. O. (2006). Do Professional Development School (PDSs) Make a Difference?: A Comparative Study of PDS and Non-PDS Teacher Candidates. Journal of Teacher Education, 57(1), 65 – 80.
David A. De Cenzo, Stephen P. Robbins. (1999). Human resource management. New York, N.Y.: Wiley.
Duignan, P. (2002). Building social policy evaluation capacity. etrieved January 2, 2009, from
http://www.msd.govt.nz/publications/journaV19-december-/19-pages179-194.html.
Darling – Hammond, L. (1994). The current status of teaching and teacher development in the United States. New York: Teacher College, Columbia University
Houston, W. R. (1992). Performance education: Strategies and resources for developing a competency-based Teacher education program. New York: State Education Department, Division of teacher education and certification and multi-state consortium on performance-based teacher education.
Preskil, H. & Boyle, s. (2008). Building evaluation capacity research study. NP: Claremont Graduate University.
Stufflebeam D.L. , A.J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco: Jossey-Bass.
Taut, S. (2007). Studying self-evaluation capacity building in the large international development organization. American journal of evaluation, 28(1), 45 - 59.
Robbins, Stephen P. and Mary Coulter. (2002). Pearson Education Indochina. 7th ed. New Jersey: Ltd.