มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุการเดินเรือ ศึกษากรณีการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือ

Main Article Content

สุวิทย์ ดอกคำ
มาลี สุรเชษฐ
สาธิดา วิมลคุณารักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาหลักการ แนวทาง การสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ.1974 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ.1973 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ.1966 และกฎหมายทะเลหรืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 2) ศึกษาเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือของต่างประเทศ และ4) วิเคราะห์ เสนอแนะแนวทาง มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน รวมถึงการสอบสวน เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือของประเทศไทยงานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัยโดยการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารจากกฎหมายของประเทศไทย กฎหมายต่างประเทศ และอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หนังสือกฎหมาย เอกสารอ้างอิงทางวิชาการ และบทความทางวิชาการของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย เอกสารคู่มือ แนวทางปฏิบัติขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศจากเว็บไซต์


                        ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ได้มีการกำหนดหลักการแนวทางการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว 2) ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช 2456 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่า กฎหมายภายในของประเทศของไทย ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการสอบสวนหรือการค้นหาข้อเท็จจริงของอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือที่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบสวนที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศกำหนด 3) สำหรับกฎหมายของต่างประเทศที่ศึกษา ได้แก่ สหราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐนิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ศรีลังกา และลัตเวีย พบว่า กฎหมายภายในของแต่ละประเทศมีบทบัญญัติหลัก ๆ สอดคล้องตามมาตรฐานการสอบสวนอุบัติเหตุขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศและมีบทบัญญัติปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ และ 4) ประเทศไทยสมควรมีกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุที่มีบทบัญญัติสอดคล้องตามมาตรฐานการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากเรือขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศเพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในการเดินเรือของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจ้าท่า. (2531). ประวัติกรมเจ้าท่าและกฎข้อบังคับการตรวจเรือ(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2528. กระทรวงคมนาคม. 11 พฤศจิกายน.
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ.
(2548). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอราวัณการพิมพ์ จำกัด.
กลุ่มงานองค์การระหว่างประเทศและสหประชาชาติ. (2533). องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO). สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ. กุมภาพันธ์.
ชัยภัทร ทั่งทอง. (2552). การจัดทำบริการสาธารณะท้องถิ่น โดยองค์การบริหารกิจการท้องถิ่นเฉพาะอย่าง: บท 2 แนวความคิด ว่าด้วยการจัดทำบริการสาธารณะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐธิดา ศานติสุทธิกุล. (2558). วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการบริหารการขนส่งทางน้ำ: การสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุทางเรือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
นพพร โพธิรังสิยากร. (ม.ป.ท.). กฎหมายทางทะเล (ตอนที่ 2).นิตยสารกระทรวงยุติธรรม ดุลพาห, (มีนาคม - เมษายน), 35, หน้า 2.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2543). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2551). หลักนิติธรรมในการปกครองระบบประชาธิปไตย ในระพี’51. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. ฝ่ายองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ. กองกิจการระหว่างประเทศ.
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี: เมษายน 2551
มารีนเนอร์ไทย. ประวัติ SOLAS แปล. (2560, 25 กันยายน). สืบค้นจากhttp://www.marinerthai.net/marinelaw/viewmlaw202.php
สมปอง สุจริตกุล. (2017, 25 กันยายน). กฎหมายทะเลในประเด็นซึ่งเป็นปัญหา ในปัจจุบันและอนาคต. สืบค้นจาก http://marinepolicy.trf.or.th. องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime
Organization หรือ IMO). (2560, 25 กันยายน). สืบค้นจากhttp://dg-net.go.org/upload/attach/imo.pdf
Accident Investigation Board. (2012). Marine accident Investigation Maritime Safety ThroughInvestigation And Co-Operation.
March 18.Act on Marine Accident Inquiry. (1947). Act no. 135. November 19. P 1-12.
Adede A. O. (1981). Environment Disputes under the Law of The Sea Convention. Environmental Policy And Law, 7, P 63.
ede A. O. (1987). The system for settlement of Disputes under The United Nations Convention on the Law of The Sea. Dordrecht : MartinusNijhoff publishers.
Australia. (2018, 15 June). Retrieved From Https://www.legistration.nsw.gov.au/#/view/act/1998/121/
EMSA. (2017, 25 September). Marine Casualties and Incidents. From http://www.maib.gov.uk/publications/
annual_reports.cfm
Encyclopedia Britannica. Denmark. (2017, 13) November). Retrieved From https://www.britannica.com/place/Denmark
Encyclopedia Britannica. England. (2018, 19 July). Retrieved From https://www.britannica.com/place/England
Encyclopedia Britannica. Latvia. (2018, 16 June). Retrieved from https://www.britannica.com/place/Latvia
Encyclopedia Britannica. Sri Lanka. (2017, 13) November). Retrieved from
https://www.britannica.com/place/Sri-Lanka https://www.britannica.com/place/Sri-Lanka
Encyclopedia Britannica. New South wales. (2017, 13 November). Retrieved From https://www.britannica.com/place/New-South-Wales
International Maritime Organization. (1998). SOLAS: The International Convention for The Safety of Life AT Sea, 1974. London: Albert Embankment. October.
International Maritime Organization. (2000). IMO Resolution A.884(21) (adopted on 25 November 1999) “Amendments to The Code for The Investigation of Marine Casualties and Incidents (Resolution A.849(20)”. A.21/Res884. 4 February.
Agenda Item 5.
International Maritime Organization. (2002). Guidelines on Voyage Data Recorder (VDR) Ownership and recovery. MSC/Circ.1024. London: Albert Embankment. May 29. Ref. T2/2.02.
International Maritime Organization. (2005). MARPOL – International Convention for The Prevent of Pollution from Ships. ioyd’s Register Rules Finder 2005, vol. 9.4, P 2-584.
International Maritime Organization. (2014). Casualty-Related Matters Reports On Marine Casualties And Incidents (Revised Harmonized reporting procedures –Reports Required Under SOLAS Regulation I/21 and XI-1/6, and MARPOL, Article 8 and 12). MSC-MEPC.3/Circ.4/Rev.1. London: Albert Embankment. November 18. K
uehmayer, J. R. (2008). Marine accident and Casualty Investigation Boards. Austrain Marine Equipment Manufacturers. Marine Safety Act 1998. (1998). “Part 8 Investigation and Enforcement: Division 1 - 4 (94- 125)”. New South Wales.
Australia. Act No. 121. P. 40-49.
Merchant Shipping Secretariat Ministry of Ports and Shipping. (2016). Investigation of Marine Casualties and Marine Incidents. MSN 06/2016. Adopted on 23 March 2016.
Democratic Socialist Republic of Sri Lanka. Republic of Sri Lanka. pp. 1-7.
Republic of Latvia. Procedures for Investigation of Marine Casualties and marine Incidents. The Maritime Administration and Marine
Safety Law. Section 50 , Paragraph 2. Regulation No. 561, Adopted 12 July 2011. P.1-18.
The Danish Maritime Authority. (2011). Act On Safety Investigation of Marine Accidents: Act no. 457. May 18.
The Danish Maritime Authority. (2011). Order on The Reporting of marine accidents, deaths and near-miss incidents. June 14. No. 638.
The Danish Maritime Authority. (2011). Act on Safety Investigations of Maritime Accidents. Denmark. Act No. 457. Adopted on 18 May 2011. Pp. 1-5.
The Australian Transport Safety Bureau. (2012). Documents supporting the Transport Safety Investigation Act 2003. August 15.
The Australian Transport Safety Bureau. (2012). Questions and answers abouot the Act. August 15. The United Nation. (1929). Safety of Life at Sea. London: May 31. P 1-91 White Star Ships. (2017, 14 November).
Retrieved From http://www.titanicpages.com/

















Withington, J. Stuart. ISM-What has been
learned From marine incident investigation?.
Marine Accident Investigation Branch.
www.bbc.com/news/uk-england-39223308
www.imo.org. (2017, 28 October).
MARPOL 73/78. Retrieved from
http://www.imo.org/en/about/conventions/
listofconventions/pages/international-
convention-for-the-prevention-of-
pollution-from-ships-(marpol).aspx