รูปแบบพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ชาคร คัยนันทน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ดำรงตำแหน่งทางบริหาร ประธานหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงและสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากทั้ง 12 แห่ง จำนวน 4,726คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้หน่วยตัวอย่างจำนวน 369 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ ระยะที่ 3 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 25 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ด้วยวิธีการยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ทุนทางปัญญาทุนทางสังคม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางความชำนาญ ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ได้แก่ปัจจัยด้าน คุณลักษณะของบุคลากร ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านความผูกพันต่อองค์กรด้านวัฒนธรรมองค์กรด้านแรงจูงใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน

  2. ระดับการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 เรียงลำดับค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบการพัฒนาทุนมนุษย์ จากมากไปน้อย ได้แก่ทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา ทุนทางอารมณ์ และ ทุนทางความชำนาญค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16, 3.98, 3.88 และ 3.84 ตามลำดับ

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ปัจจัยด้านปัจจัยด้านแรงจูงใจ ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .308, .206, .183, .156, .082 และ .072ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ .297, .228, .185, .146, .098และ .080 ตามลำดับ โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 6 ตัว มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ (R) เท่ากับ .804มีค่าอำนาจการพยากรณ์ ( R2) เท่ากับ .646 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 64.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05
    4. การสร้างรูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Mincer, Jacob. (1958). Investment in Human Capital and Personal Income Distribution, Journal of Political Economy, 66(4), 281-302.
[2] Schultz, Theodore W., (1961).Investment in Human Capital, The American Economic Review, 51(1),1-17 .
[3] Thuen Thongkaew. (2008). Human Capital Theory. Documentation for Lecture, SuanDusitRajabhat University.
[4] Yamane, T. (1973). Statistics an Introduction Analysis. 3rded. New York. Harper & Row Publishers, Inc.