ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูและระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล
การพัฒนาวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้าง
และขนาดของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นครู จำนวน 760 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า มีค่าความเชื่อ
มั่นเท่ากับ 0.954 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก และระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู อยู่
ในระดับมากทั้งสามปัจจัย เรียงลำดับดังนี้ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ศักยภาพแห่งตน และทักษะการสอน
2. โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครู ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ดังนี้
2 = 68.651, df = 51,
/df = 1.346, CFI= .997, TLI = .995, RMSEA = .022, SRMR = .018 โดยพบว่าศักยภาพแห่ง
ตน (Self-efficacy) มีอิทธิพลสูงสุดต่อประสิทธิผล การพัฒนาวิชาชีพครู เท่ากับ 0.73 รองลงมา คือ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
เท่ากับ 0.32 และทักษะการสอน เท่ากับ 0.23อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Science Education Standards. Washington, DC :
National Academy Press.
[2] Supovitz, J.A. & Turner, H.M. (2000). The effects
of professional Development on Science Teaching
Practices and Classroom Culture. Jour of Research
in Science Teaching. 10(2), 115.
[3] Appleton, K. (2007). The Effect of a Mentoring Model
for Elementary Science Professional.
[4] Rushton, G.T., Lotter, C.& Singer,J. (2011). Chemistry
Teachers’Emerging Expertise in Inquiry Teacher
: The effect of a professional development model
on beliefs and practice. Journal Science Teacher
Education.
[5] Hair , J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson,
R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. Seventh
Edition. Prentice Hall, Upper Saddle River, New
Jersey.
[8] Pharmaceutical Society of Ireland. Review of
international CPD model. Dublin : CJ Print&Design.
[9] Bandura. (2005). Self-Efficacy : The exercise of
control. New York : W.H. Freeman & company.
[10] Guskey, T.R. & Huberman, M. (1995). Professional
development in education : New paradigms and
practice. New York : Teacher College Press.