การพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักวุฒิธรรม

Main Article Content

พระฐตรฐ อธิปญฺโญ
ประภัสสร ปรีเอี่ยม
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักวุฒิ
ธรรม 2) เพื่อสร้างหลักสูตรการพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักวุฒิธรรมและ 3) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตร
การพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักวุฒิธรรม วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) คือการวิจัยเชิงปริมาณ
และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในระยะที่ 1 ได้แก่ ชาวบ้านตำบลท่าสองคอน ตำบลท่าสองคอน
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้เรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 40
คนเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินหลักสูตรการพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลักวุฒิ
ธรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรการพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลัก
วุฒิธรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิจัยแบบตารางและการพรรณนา
วิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของชาวบ้านหนองเขื่อนช้าง ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม พบว่า มีปัญหาทางด้าน
สังคมมากที่สุดคือ เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ เล่นเกมส์ และเข้าไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า จึงมีความต้องการให้ทาง
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์จัดการเรียนการสอน ในวิชาวิชาพุทธประวัติ วิชาธรรม เบญศีล-เบญธรรม วิชาการถนอมอาหารอีสาน
(แจ่วบอง)วิชางานบ้านคือ การจีบผ้า และวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2) การสร้าง
หลักสูตรโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลักวุฒิธรรมจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการจัดสนทนากลุ่มจาก
ระยะที่ 1พบว่า วิชาที่จัดการเรียนการสอน คือวิชาพุทธประวัติ วิชาธรรม เบญศีล-เบญธรรม วิชาการถนอมอาหารอีสาน (แจ่วบอง)วิชา
งานบ้านคือ การจีบผ้า และวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยมีวิธีการ ได้แก่ การเตรียมครูผู้สอน มีการประชุมก่อนการเรียนการสอนเพื่อ
วางแผนการบูรณาการร่วมกันวิธีการสอนแบบต่างๆ ได้แก่ การสอนแบบบรรยาย การสาธิต และการสอนแบบปฏิบัติจริง และการสอน
แต่ละวิธีจะใช้หลักวุฒิธรรมเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน คือ 1) สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) การคบคนดีมีความสามารถโดย
ผู้วิจัยสรรหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านมาทำการสอนถ่ายทอดทอดความรู้ให้กับนักเรียน2) สัทธัมมัสสวนะ
(ฟงั ธรรม) การฟงั คำสอนครูบาอาจารยใ์ หช้ ดั เมื่อเราไดพ้ บครูดแี ลว้ สิง่ สำคัญอันดับที่สองก็คอื ตั้งใจฟงั คำสั่งสอนของทา่ น วิธีการนี้ จะใช้
การประเมินจากครูผู้สอน3) โยนิโสมนสิการ (ไตร่ตรองธรรม) การไตร่ตรองคำครูบาอาจารย์ให้ลึกซึ้งจะใช้การประเมินจากครูผู้สอน ว่า
นักเรียนสามารถบอกเล่าได้ตรงตามเนื้อหา และตอบคำถามได้ครบถ้วน4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) การทำ
ตามครูบาอาจารย์ให้ครบสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เป็นการทดสอบจากการปฏิบัติจริง ว่าสามารถปฏิบัติตามครูได้ครบถูก
ต้องหรือไม่เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้สอน มีหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่รายวิชา รวมถึงการบูรณาการที่หลากหลาย เช่น สมุด


ภาพ วิดีทัศน์ โปรเจ็คเตอร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงการลงพื้นที่สำรวจสภาพพื้นที่จริง และมีค่าความเหมาะสมของหลักสูตร อยู่ที่ 0.85
ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ 3) ความพึงพอใจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลักวุฒิธรรมโดย
ภาพรวมมีความพึงใจ ระดับมากมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.81

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Religious Affairs Department. (2002). Guidelines for
the operation of Buddhist Sunday Center. Bangkok
: Religion, Printing House.
[2] Phrapromkunaporn (P.O. Payuto). (2004). Intelligent
Development : Religion - History. Post Today,
(Sunday 14 November, 254
[3] Phramaha ThaveeKuntaweero (Torasing). (2000).
Assessment of Buddhist Sunday School
Curriculumof Mahachulalongkornrajavidyalaya
Universityand Branches in Bangkok. Master of
Education Thesis : Mahasarakrm university.
[4] Joyce, B. and Weil, M. (1996). Model of Teaching.
3rd. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.