การศึกษาเชิงเปรียบเทียบปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติ และพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ)

Main Article Content

พระวิทยา วรวฒฺฑโน (สุวรรณคำ)
พระใกล้รุ่ง ปญฺญาวชิโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติ 2) เพื่อศึกษาแนวความคิดปรัชญาการศึกษาของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) และ 3) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติและพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) ที่มีอิทธิพลต่อสังคม ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาการศึกษาในทัศนะของกฤษณมูรติกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) นั้น ในด้านความหมายการศึกษานั้นมีประเด็นที่เหมือนกันคือการพัฒนาชีวิตให้ถึงจุดหมายอันสูงสุด ให้พบกับอิสรภาพทั้งภายในทั้งภายนอก  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  มีความสามารถที่จะรู้สึกร่วมและสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นโดยตรงได้จริงๆ  การศึกษาที่ถูกต้องเป็นการเรียนรู้ชีวิตทั้งหมดให้เกิดความเป็นเอกภาพ ในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาทั้งกฤษณมูรติกับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) มองว่าการศึกษากับชีวิตนั้นเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งสองท่านมีแนวคิดที่เหมือนกันในสองประเด็นนี้  คือ 1) จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้รับความรู้ในสาขาต่างก่อให้เกิดความชำนิชำนาญที่สุดทางวิชาการและเทคโนโลยี  2) จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องเป็นที่ยอมรับว่าจุดมุ่งหมายของท่านทั้งสองนั้นมีความเหมือนกันในแง่ของจุดมุ่งหมาย  และท่านทั้งสองก็เน้นจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ที่อันเป็นสิ่งที่ท่านทั้งสองมองว่าเป็นการศึกษาที่แท้จริงปรัชญาการศึกษาของทั้งสองชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการศึกษาปัจจุบันว่าเป็นเรื่องของการสะสมข้อมูลและความรู้จากตำรา  การเล่าเรียนสะสมข้อเท็จจริงและฝึกทักษะต่างๆ           ในแนวคิดของท่านทั้งสองต้องการให้การศึกษานั้นพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อันที่สุดของการศึกษาในทัศนะของกฤษณมูรติมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่ใช่บุคคลที่สะสมความรู้และไม่ใช่บุคคลสำรวจชีวิตข้างใน       แต่มนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นเป็นทั้งสองสิ่งอยู่ด้วยกัน  คือรู้จักตัวเองสามารถมีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องกับบุคคล  ความคิดและสรรพสิ่งประกอบด้วยสติปัญญาจึงมีความอิสระอย่างแท้จริง  แม้ในทัศนะของ     พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) ก็มีประเด็นที่คล้ายกันที่ว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องอยู่ด้วยปัญญามีชีวิตที่สามารถสัมพันธ์กลมกลืนกับธรรมชาติได้


           จุดมุ่งหมายของการศึกษาของท่านทั้งสองที่สอดคล้องกัน  คือเน้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่การศึกษา  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อันเป็นสิ่งที่ท่านทั้งสองว่าเป็นการศึกษาแท้จริง  และส่วนที่ต่างกันคือการศึกษาที่จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นมีวิธีการที่แตกต่างกัน  โดยที่กฤษณมูรตินั้นใช้การเฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงภายในความคิดด้วยความใส่ใจ  การเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตโดยไม่มีการสะสมข้อมูล ส่วนพระธรรมโกศาจารย์  (พุทธทาส ภิกขุ) นั้นมีวิธีการศึกษาที่ก่อให้เกิดความรู้ภายในเรียกว่าโยนิโสมนสิการ ได้แก่การศึกษาชีวิตและสรรพสิ่งโดยพิจารณาด้วยใจอันแยบคาย  มีการคิดถูกวิธีความรู้จักคิดหรือคิดเป็นนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Krishnamurti. (2005). The study and the essence
of Translated by NuanKham Chan. Songkhla : Anvi
Kanyana Foundation.
[2] Krishnamurti. (2006). A new dimension of education
for a complete human being, translated by a verbal
Sun. Bangkok : Anvsana Foundation.
[3] Krishnamurti. (2000) Krishnamurti at the Hermes
Valley, translated by Supaporn Pongpruek.
Bangkok : Komon Gypsum Foundation.