ปัจจัยเชิงสาเหตุและแนวทางเพิ่มประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ไพทูล พรมมากุล
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ไพศาล วรคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3)พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุ
ระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผลด้านคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา จำนวน 33 โรงเรียน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,122
คนโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ค่าความ
เชื่อมั่นเท่ากับ .912 แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .906 และแบบวัดเจตคติมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .908 การ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA)
และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (MSEM) และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน ของ
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ(Connoisseurship) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูล
เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น
ฐานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ระดับปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับนักเรียน คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียน ในระดับห้องเรียน
คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (= 124.724, df = 111, P = 0.1762, CFI = 0.998, TLI =
0.998, RMSEA = 0.011, SRMRW = 0.029, SRMRB = 0.133, ซึ่งค่า = 1.123) และ ผลการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรง
อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมในโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ เมื่อพิจารณาขนาดอิทธิพลรวม พบว่า การจัดกระบวนการเรียน
รู้ มีขนาดอิทธิพลต่อประสิทธิผล ด้านคุณภาพผู้เรียนสูงที่สุดเท่ากับ 0.916 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมาคือ เจตคติ
ต่อการเรียน มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.793 และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.229 ตามลำดับ
4. แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ ส่วนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย
ได้แก่ 1)ความเป็นมาและความสำคัญ 2)วัตถุประสงค์ 3)กลุ่มเป้าหมายและ 4)นิยามศัพท์ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด
ประกอบด้วย 1)ความรู้เกี่ยวกับการคิด 2)ความหมายของการคิด 3)ลักษณะสำคัญของการคิด 4)กระบวนการคิด 5)ความสำคัญของ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 6)วัตถุประสงค์ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 7)ประโยชน์ของ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 8)องค์ประกอบของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 9)ลักษณะสำคัญ
ของชั้นเรียนที่มีการคิด 10)แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 11)การวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น
กระบวนการคิดและ 12)ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรทูี้่เนน้ กระบวนการคิดสว่ นที่ 3 แนวปฏิบัตริ ะดับสถานศึกษา ประกอบ
ด้วย1)การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดระดับสถานศึกษา 2)จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ 3)ขั้นตอนการปฏิบัติระดับสถานศึกษาส่วนที่ 4 แนวปฏิบัติระดับห้องเรียนประกอบ
ด้วย 1)กรอบการนำทักษะการคิดสู่การพัฒนาผู้เรียนระดับห้องเรียน 2) ขั้นตอนการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด 3)การจัด
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด 4) ขั้นตอนการบูรณาการการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการคิด
5)สื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6)การวัดและประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] The Ministry of Education. (2016). To improve
the quality of secondary education to international
standards.Annual 2016. Retrieved from https://
drive.google.com/file/d/.0Bx2cUxE8N736MkRpV0
xVYVV4MW8/ view.
[2] TheNational Education Testing Institute. (2016). The
results of the national educational tests basic
(O-NET) at the 3rd grade level students in BE 2558.
Retrieved from www.onetresult.niets.or.th/
[3] Wongwanich, Suwimol. (2007). Research projects
accelerate the positive attributesofyouth,Thailand
complete. Bangkok : Prig Whaun Graphics Co
[4] Wiratchai, Nonglak. (2002). The process of reform
to improve the quality of learning : Evaluation
and assurance. Bangkok : VTC Communications
applications.
[5] Kanjanadee, chayanit. (2013). The analysis of the
factors influencing the academic achievement of
students in the sixth grade at the three
southernmost provinces. Master of Arts Thesis
Academic Evaluation and Research Studies
Songkla University.
[6] Rooncharean, Teera. (2002). The research report
titled : The state and the administration and
management of basic education schools in the
country. Bangkok : VTC Communications Ltd.
[7] Kangpheng, Sumrit. (2008). Factors that
influence the effectiveness of school
management : The development and validation
of the models. Postdoctoral thesis. Graduate
College University.
[8] Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson,
R. E. (2010). Multivariate data analysis : A global
perspective. (7th ed). New Jersey : Pearson
Education Inc.
[9] Linderman, R.H., Merenda, P.F., & Gold, R.Z. (1978).
Introduction to bivariate and multivariate
analysis. London : Scott, Foresman.
[10] Wongchai, Jatuporn. (2014). Multiple factors
affect the results of the national test of basic (ONET)
: Mathematics Grade 6th level, the OES
schools under the Primary Educational Service
Area Office 3. Year 4 No. 7 July to December.
Journal of Science Education Network Northern
Rajabhat University.
[11] Kawmongkon, Songyot.( (2013). Factors
Influencing Academic Affairs Administration
Effectiveness of Primary School under the
Bangkok Metropolitan Administration.
Department of Educational Administration, Faculty
of Education, Kasetsart University