การจัดการกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการกลยุทธ์การแข่งขันและเกณฑ์ธุรกิจสปา 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จของธุรกิจ
สปา 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปา และ 4) เพื่อสร้างกลยุทธ์การแข่งขันความสำเร็จ
ของธุรกิจสปาและเสนอแนะแนวทางเชื่อมกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ตัวแปรที่ศึกษาตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการกลยุทธ์การแข่งขัน และ
เกณฑ์ธุรกิจสปา และความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจสปา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์
เจาะลึก เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจสปา จำนวน 30
คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจสปาในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการ
โครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจสปา โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีการจัดการด้านการตลาด การเงิน/บัญชี ด้านผลิตภัณฑ์
ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคล ส่วนเกณฑ์ธุรกิจสปา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านความสามารถของผู้ประกอบการ
รวมทั้งการจัดอาคารสถานที่ให้สะอาดสวยงาม สะดวก สบาย การให้บริการ และความปลอดภัย
2. ความสำเร็จของธุรกิจสปาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือด้านการ
เงิน ส่วนอีก 3 ด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต ด้านลูกค้า และด้าน
กระบวนการธุรกิจภายในองค์กร
3. การกำหนดรูปแบบการจัดการกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปา พบว่า 1) การจัดการกลยุทธ์การแข่งขันมี
อิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จของธุรกิจสปา โดยสัมประสิทธิ์เส้นทางมีค่าเท่ากับ 0.107 และการจัดการมีอิทธิพลทางตรงเชิง
บวกกับเกณฑ์ธุรกิจสปา มีสัมประสิทธิ์เส้นทางมีค่าเท่ากับ 0.918 และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสำเร็จของธุรกิจสปา โดยผ่าน
ทางเกณฑ์ธุรกิจสปา ค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.029 และ2) เกณฑ์ธุรกิจสปามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จของธุรกิจสปา
โดยสัมประสิทธิ์เส้นทางมีค่าเท่ากับ 0.032
4. การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาและเสนอแนะแนวทางเชื่อมกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ด้วยการกำหนด
กลยุทธ์ ลดต้นทุนโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ และแพคเก็จ โฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขายของธุรกิจสปาพัฒนา
คุณภาพการให้บริการ ปรับปรุงสถานที่ให้ดูสวยงาม บริการห้องนํ้า ห้องส้วมสะอาด และที่จอดรถ จัดระบบฐานข้อมูลลูกค้า จัดโปรโม
ชั่นให้กับสมาชิก และฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพพนักงาน
ผลจากการวิจัย ผู้วิจัยได้กลยุทธ์แอมป์โม สปา (MODEL : AMMO SPA) ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ตลาด การเงิน/บัญชี
ทรัพยากรบุคคล ผู้ประกอบการ การบริการ และสถานที่ โดยการนำกลยุทธ์ MODEL : AMMO SPA มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ
ธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และสามารถดำเนินกิจการอย่างอยู่รอดต่อไปได้ในสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการ
สามารถนำกลยุทธ์ MODEL : AMMO SPA ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนตามความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ของธุรกิจเพื่อนำไป
สู่ความสำเร็จของธุรกิจอย่างยั่งยืน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
about Spa. Ranong : Provincial Health Office.
[2] Spa Business Marketing. (2015).20 April 2015from
: http://nanotech.sc.mahidol.ac. Th/i-sense/aroma/
aroma-sense.jpg.
[3] Siriwan Sereeratanf Others. (2003). New Marketing
Management. Bangkok : Teerapol and Setyte
Co. Ltd.
[4] Suwakit Sripattha. (2006). Entrepreneurship.
Mahasarakham : Rajabhat Maha sarakham
University.
[5] Ministry of Public Health. (2010). Spa business
certified by the Ministry of Public Health. Nontha
buri : Office of Health Services Promotion,
Department of Health Service Support.
[6] Pakorn Srimueangthong. (2015). Strategies to Make
Thai Spa Business Go Global. Bangkok : Ministry
of Public Health, 2015.
[7] Sitthichai Thammasane. (2011). Spa Management
in Meuang District, Chonburi province. Bangkok
: SuanSun and Rajabhat University.
[8] Sumon Malasith. (2005). Production Management /
Operations. 2nd ed. Bangkok : Three Lada.
[9] Salisa Kamonsathid. (2008). Operation Management.
Bangkok : Top Printing Co. Ltd.
[10] Wethaka Maneenet, Patcharaporn Chaiboonkong
and Kusol Srisarakham. (2014). Strategies and
Abilities in Competition Related to Spa Business
Management in the Northeast, Thailand. Rajabhat
Maha Sarakham University Journal (Humanities
and Social Sciences). 8(1) : January - April 2014.
[11] Sibpasinee Bare. (2012). Marketing factors affect
the choice of spa services in Thailand of Chinese
tourists, case study of Phuket case study. Master
of Business Administration Thesis : Phuket
Rajabhat University.
[12] Phachara Boonyalak. (2014). Marketing mix af
fecting Chiness tourists towards choosing spa
service in Mueang Chiang Mai District. Master
of Business Administration Thesis :Chiang Mai
University.
[13] Suporn Prasasananan. (2010). Marketing Mix
Factor for Customers’ Access to Spa in Bangkok.
Master of Business Administration Thesis :
Sukhothai Thammathirat Open University
[14] Karnjana Phoosodsoong. (2011). The impact of
service-oriented operationseffecting to Value
creation of spa business in Thailand. Master of
Business Administration Thesis : Mahasarakrm
university.
[15] Sukanya Phayungsin. (2010). Marketing Strategy
of Spa Business in Thailand. Doctor of Business
Administration Thesis : University of Eastern Asia.