การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบ
บูรณาการ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทาง
ของการจัดการศึกษาและแนวทางการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ โดยการศึกษา
เอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษา
อังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จำนวน 30 คนตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ โดยนำกรอบแนวคิดที่ได้จากตอนที่ 1 มาร่างรูปแบบการประเมินฯ ตรวจสอบความเหมาะสมและความ
เป็นไปได้ของร่างรูปแบบการประเมินฯ ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คนตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการ
ประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการและตรวจสอบความตรง
ตามสภาพจริงของรูปแบบการประเมินฯ ในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 โรง ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 4 การประเมิน
รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบการ
ประเมินฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้การสื่อสารภาษาอังกฤษมาบูรณาการแบบผสมผสานในการสอนควบคู่กับการสื่อสารภาษาไทย เพื่อ
เสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษให้ผู้เรียน ในปัจจุบันยังไม่มีการประเมินและติดตามผลการดำเนินการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจาก
หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงหรือหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวควรออกมาประเมินและติดตามผล โดยอาจใช้แบบประเมิน
ที่มีการกำหนดสิ่งที่จะประเมินและเกณฑ์การประเมินไว้อย่างชัดเจน แล้วสะท้อนผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบ เพื่อที่จะได้นำ
ไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไปซึ่งควรมีทั้งการประเมินภายนอกและการประเมินภายใน โดยผู้ประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน
นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนในเครือข่าย สมาคม EIS แห่งประเทศไทยผู้แทนชุมชน ผู้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญ
หรือศึกษานิเทศก์ รวมทั้งชาวต่างชาติว
2. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการมีลักษณะเป็นแผนภูมิที่มีโครงสร้าง
ที่สัมพันธ์กัน7 องค์ประกอบ คือ 1. หัวข้อในการประเมิน คือการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบ
บูรณาการ2. วัตถุประสงค์ในการประเมิน เพื่อเป็นสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ
การศึกษาแบบบูรณาการ3. สิ่งที่มุ่งประเมิน ได้แก่ มาตรฐานด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอน 28 ตัวบ่งชี้ด้านผู้รับผิดชอบโครงการฯ 6 ตัวบ่งชี้ด้านคุณภาพของครูผู้สอน 25 ตัวบ่งชี้ด้านความพร้อมพื้นฐานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 15 ตัวบ่งชี้และ
ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน 10 ตัวบ่งชี้4. วิธีการประเมิน ประกอบด้วยขั้นตอนในการประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินช่วง
เวลาที่ประเมิน 5. ผู้ทำการประเมิน ประกอบด้วย ผู้ประเมินภายในและผู้ประเมินภายนอก 6. เกณฑ์การประเมิน เป็นเกณฑ์สัมบูรณ์
ที่กำหนดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ 7. ผู้ใช้สารสนเทศ คือ ผู้มีส่วนได้เสียหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษา
อังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ
3. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาองั กฤษเพือ่ การศกึ ษาแบบบรู ณาการ ทาํ ใหโ้ รงเรียนมพี ฒั นาการในการ
จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ เห็นได้จากคะแนนของผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าคะแนนของ
ผลการประเมินครั้งที่ 1 เมื่อพิจารณาคะแนนพัฒนาการ พบว่าโรงเรียนมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับ สูงคิด
เป็นร้อยละ 63.85 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความตรงตามสภาพจริงในการประเมิน
4. ผลการประเมินรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ ด้านความเป็น
ประโยชน์ ความเป็นไปได้ความเหมาะสม และความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน เท่ากับ 0.54
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Management of information and administration in
schools according to Ministerial Regulation on
System, Criteria and Methodology for Evaluating
Educational Quality No. 4. Bangkok : Office of the
Basic Education Commission
[2] Phenprapha Kauphithak.(2012). Development of
learning management assessment model of
Foreign Language Teacher, International
Standard School. Ph.D. Thesis : Mahasarakrm
University.
[3] Krissana Kiddee. (2004). Evaluation Model
Development of the Teaching and Learning
Process is Focused on Learners. Doctor of
Education Thesis : Chulalongkorn University.
[4] Artthid Artharn.(2015). Evaluation Model
Development of Learning management of the
School Classrooms, Specialized Science High
School. Doctor of Education Thesis : Mahasarakrm
university.
[5] Sirichai Karnjanawasee. (2009). Evaluation theory.7th
ed. Bangkok : Chulalongkorn University.
[6] Nevo, David.(1983). The Conceptualization of
Education : An Analytical Review of the
Literature. Review of Educational Research, 53,
117 - 128.
[7] Rattana Buason. (2007). Direction and Assessment
Area. 2nd ed. Bangkok : Chulalongkorn University.
[8] Worthen, B.R. and J.R. Sanders. (1973). Educational
Evaluation : Theory and Practice. Ohio :Charles
A. Jones Publishing Company.
[9] Thornditke, E.L. and C.L. Barnhart. (1965). Thorndike
Barnhart Junior Dictionary. 6 ed. New York :
Doubleday and Company Press.