การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

Main Article Content

ดนิตา Doungwilai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ
เรียนรู้ด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึง
พอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 38 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการคิด
วิเคราะห์แบบปรนัยและอัตนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐานเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อย
ละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีประสิทธิภาพเท่ากับ
86.61/82.80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ มีค่าเท่ากับ 0.6194 คิดเป็นร้อยละ 61.94
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ หลัง
เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการ
เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Barbara J. Duch, (1995). Problem-Based Learning
in General Physics. Announcer, 23(4).
[2] Bunchom Srisa-ard and others. (2008). Statistical
Methods for Research. Kalasin : Prasarn Priting.
[3] Arphaphan Sadtayawibul. (2010). Organizing
Problem-Based Learning Activities for the
Garbage and Solid Wastes Disposal Course. SDU
Res J, 3 (1) : Jan - Dec 2010[4] Suwanna Wongvichain. (2010). A Comparison of
Academic Achievement and the Thinking
Ability Required to Solve Problems on the
Protection of the Rights of Consumers by
Mathayom Sueksa Five Students Studying in
the Social Studies, Religion, and Culture Learning
Strand Using the Method of Problem-based
Learning Management and the Method of Six
Thinking Hats. Master of Education Thesis
(Teaching Social Studies) : Ramkhamhaeng
university.
[5] Rattana Singhakul. (2007). Effect of infusing basic
thinking skills to ordinary subject matter on
teaching analytical thinking ability of grade 1
students. Master of Education Thesis (Curriculum
and Instruction) : Lampang Rajabhat University.
[6] Chalermpol Keawsarmsee. (2011). Problem based
Learning Effecting to the Learning Achievement
of History subject and Analytical Ability of
Mathayomsuksa 3 Students. Skonnakorn : Master
of Education Thesis : Sakon Nakhon Rajabhat
University.
[7] Piyalak Thudthisen. (2010). A Comparison of
Reading Comprehension Achievement of
Prathomsuksa Six Studentsby Using Problem
based Learning Program. Master of Education
Thesis : Mahasarakrm university.