แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพนวดไทยของผู้พิการทางการเห็น ด้วยระบบการประกันสุขภาพของภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
“นวดไทย” ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมทำให้การนวดไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น และแนวโน้มของกระแสการรักษาสุขภาพที่ผู้บริโภคหันมาใช้บริการนวดไทยแทนการรักษาแบบใช้ยารักษาโรค สถานพยาบาลที่จะทำการบำบัด รักษา และฟื้นฟูอาการโรคด้วยวิธีการนวดไทยจะต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และผู้ให้การรักษาจะต้องขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556ซึ่งในปัจจุบันมีผู้พิการทางการเห็นสามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทยเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผู้พิการแต่หน่วยบริการของรัฐยังไม่เปิดโอกาสหรือเอื้อให้ใช้บทบาทอย่างเต็มที่ จึงเกิดปัญหาในการประกอบอาชีพและส่งผลให้ขาดรายได้ในการดำรงชีวิต แนวทางการนำระบบการประกันสุขภาพของภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพนวดไทยของผู้พิการทางการเห็นในรูปแบบการส่งต่อรักษาผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยให้กับสถานพยาบาลของผู้พิการทางการเห็นที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งเป็นเครือข่ายและอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม ดูแลจากโรงพยาบาลของรัฐโดยเบิกจ่ายเงินค่ารักษาจากระบบการประกันสุขภาพของภาครัฐ เพื่อให้ระบบเงินดังกล่าวมาสู่ผู้พิการทางการเห็นที่ประกอบอาชีพนวดไทย ซึ่งจะเป็นการยกระดับอาชีพและเป็นการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาอาชีพของผู้พิการทางการเห็นต่อไป
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
show_topic.php?id=587
การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกเขตสุขภาพที่ 3. (2563).คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย.
สืบค้น จากhttp://www.ppho.go.th/webppho/
dl_strat/F20181018140227.pdf
ณัฐธยาน์ว่องวงศารักษ์. (2555). การจัดเก็บภาษีเฉพาะสำหรับกองทุนประกันสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บัณฑิตธนชัยเศรษฐวุฒิ. (2535). ประกันสังคม.กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคม.
บีบีซี นิวส์. (2562). นวดไทยติด 1 ใน 15 มรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโกประจำปี 2019. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-50772231
มูลนิธิสุขภาพไทย. (2560). หมอนวดตาบอดไทยติดอันดับโลก แต่รัฐไม่ส่งเสริม ฝีมือชั้นเซียน แต่ยังเป็นลูกจ้าง รพ.สต..สืบค้นจากhttps://www.hfocus.org/
content/2017/01/13276
มูลนิธิสุขภาพไทย.(2562). จากอดีตสู่นวดคนตาบอด.ตอน
นวดไทย เปิดโอกาสและสิทธิให้กับผู้พิการทางการเห็น.สืบค้นจาก https://www.facebook.com/thaihof/
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2552). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ.กรุงเทพฯ: ม.ป.ท..
สุภรธรรมมงคลสวัสดิ์ และคณะ. (2553).รูปแบบและแนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพหรือสวัสดิการสำหรับคนพิการ(รายงานการศึกษาวิจัย).กรุงเทพฯ: ม.ป.ท..
เสาวคนธ์รัตนวิจิตราศิลป์. (2545). ระบบประกันสุขภาพ: องค์ประกอบและทางเลือก.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
OECD Health Project.(2004). Proposal for a Taxonomy of Health Insurance. Paris: OECD.