การใช้ใบห่อทีหล่าทดแทนผงชูรสในการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูป ให้ได้ลักษณะทางกายภาพและรสชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

Main Article Content

ชลิญญา สุดา
จอมสุดา ดวงวงษา

บทคัดย่อ

การใช้ใบห่อทีหล่าทดแทนผงชูรสในการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูปให้ได้ลักษณะทางกายภาพ รสชาติ และการบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยการทดลองพัฒนาสูตร เปรียบเทียบระหว่างสูตรที่มีส่วนผสมผงชูรส และสูตรที่มีส่วนผสมใบห่อทีหล่าทั้งสองสูตรอย่างละ 3 ระดับ คือ 0.5, 1.0 และ1.5 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบการยอมรับ และความชอบด้านลักษณะสี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวม ให้คะแนนความชอบแบบ Hedonic scale 9 คะแนน โดยการขออาสาสมัครผู้ที่รับประทานน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูปบริเวณมหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 60 คน ได้แก่ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการทดสอบการยอมรับ และความชอบโดยรวมของผู้บริโภคน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูป พบว่า เป็นเพศหญิง 51.67 เปอร์เซ็นต์เพศชาย 48.30 เปอร์เซ็นต์อายุอยู่ระหว่าง 20-45 ปี ผู้บริโภคให้ค่าคะแนนการทดสอบการยอมรับ และความชอบโดยรวมของน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูปทั้ง 7 สูตร พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) โดยพิจารณาจากค่า สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 7.82-7.68, 7.65-7.23, 7.75-7.57, 7.75-7.62 และ 7.68-7.91 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ระดับชอบปานกลาง เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยพบว่าสูตรที่ 7 ที่มีส่วนผสมของใบห่อทีหล่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยความชอบโดยรวมสูงที่สุดเป็น 7.91 สำหรับความคิดเห็นของอาสาสมัครต่อน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูปผู้บริโภคทั้งหมดสนใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูปขนาดบรรจุ 150 มิลลิลิตร ในราคา 20 บาท ปัจจัยในการเลือกซื้อน้ำปลาร้าปรุงรสสำเร็จรูป คือ สี และการบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แบบขวดพลาสติกพร้อมใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล บุษบา, สายทอง อมรวิเชษฐ์ และสารตรัย วัชราภรณ์. (2552).การศึกษาเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงารวิเคราะห์ทางสถิติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(3),34.

จณิสตา ภัทรวิวัฒน์และนายบดินทร์ อิทธิพงษ์. (1256). “ปลาร้า”(Pla-Ra). กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำกรมประมง.

ชินานาฏ วิทยาประภากร. (2561). จากห่อทีหล่าสู่ภูมิปัญญาชูรสดอย สร้าง“สุข”กับการกินแบบมีสุขภาวะ. คุณภาพชีวิต-สิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.northpublicnews.com

ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย และคณะ.(2561). แนวทางการควบคุมประกอบกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารหมักดองจากสัตว์ ประเภท ปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อมหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.คู่มือวิชาการ, 2(61), 9.

นารีรัตน์ คำบุญเรือง. (2552). ความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณน้ำตกศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นารีรัตน์ คำบุญเรือง. (2552). ความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณน้ำตกศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวเรศวร์ อินทุเศรษฐ, บดินทร์ อิทธิพงษ์, สิริรัตน์ จงฤทธิพร และอัธยา กังสุวรรณ. (2549). การใช้ในผลิตภัณฑ์ปลาหมัก(ปลาร้า). เอกสารวิชาการ. ฉบับที่ 1. กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

พจน์ สัจจะ. (2540). โลกวัฒนธรรมของอาหาร: อาหาร.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดด.

พาขวัญ ทองรักษ์. (2558). การพัฒนากระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ปลาร้าผง เสริมกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศ. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรภูมิ.

พิศมัย เอกก้านตรง และคณะ. (2561). การพัฒนาคุณภาพปลาร้าและผลิตภัณฑ์ปลาร้าทางเลือกตามภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้เครือข่ายขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย. สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล.

วสาวีพิชัย, สุภัทรา จินากูล, พัลลภ บุญพุทธ, วิลาวัลย์ บุณย์ศุภา และพันธิวา แก้วมาตย์. (2553). การพัฒนาศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาร้าแปรรูปเพื่อการแข่งขันในตลาดของกลุ่มชุมชนในเขตอีสานกลาง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.(2557). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า. ฉบับที่ 1346/2557. กรุงเทพฯ

สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2560). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2),65.

สิริญา ปูเหล็ก. (2562). “ห่อทีหล่า”ชูรสดอย. กรุงเทพธุรกิจ, 32(11067). สืบค้นจาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/85b22441-6714-e911-80e6-00155d93ef00

เอมอร ชัยประทีป. (2558). ผงชูรสกับโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(3),2.

Stone, H. and Sidel,J.L. 1993. Sensory Evaluation Practices. (2nd ed.), Academic Press, Inc. California.338p.