ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจชื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในนครหลวงเวียงจันทน์

Main Article Content

รัศชานนท์ รัศชานนท์
ภิเษก ชัยนิรันดร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในนครหลวงเวียงจันทน์ (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านความคิดเห็นต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในนครหลวงเวียงจันทน์ (3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นในนครหลวงเวียงจันทน์ และ (4) เพื่อศึกษาหาปัจจัยด้านความคิดเห็นและปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นในนครหลวงเวียงจันทน์จากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหลักคือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่t-test, ANOVA, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า มีเพียงปัจจัยเดียวในด้านประกรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ นั้นคือ ปัจจัยด้านรายได้ เนื่องจากมีค่า Pเท่ากับ0.092แม้จะมีค่า > 0.05 หากแต่มีคู่ตัวแปรบางตัวที่มีค่า Sig. ≤0.05 ปัจจัยด้านความคิดเห็นและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) พบว่าปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลสินค้า ด้านสินค้ายากที่จะหาซื้อ ด้านโพสต์การเสนอสินค้า ด้านรีวิวจากบุคคลที่มีชื่อเสียง และด้านคุณภาพของสินค้า มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05อันสามารถอธิบายสมการได้ร้อยละ 38.8มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ0.623

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัญญา ชีนิมิต, และพัชนี เชยจรรยา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคออนไลน์ของผู้บริโภค.วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า. 2(3), 1-11.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก, สิริมา บูรณ์กุศล, และกนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่2. 2(1), 1189-1200.

ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล. (2557). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้มีงานทำในจังหวัดชลบุรี. วารสารมทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.2(1), 94-105.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing.กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2552). Social Network Marketing 101.ผู้จัดการ 360 องศา. 1(1), 165-168.

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ.13(2), 145-153.

วรรณา วันหมัด. (2558).ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร.10(2), 133-141.

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์. (2560).เปิดตัวเว็ปไซต์e-commerce อย่างเป็นทางการ.สืบค้นจากhttp://thaibizdenmark.com/th/news/detail.php?I D=21034&sphrase_id=7463199

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ. (2561). โอกาสการค้า E-Commerce ใน CLMVและอาเซียน.สืบค้นจากhttps://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id=2473&Lang=TH&mail=1

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (10rd ed). New York: John Wiley & Sons. Inc.

Hair, J. F. Jr., Hult, G. T. M., Ringle, C. M.,&Sarsted, M. (2014). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM).California: SAGE Publications.

Internet World Stats. (2020).Internet Usage in Asia.Retrieved from https://www.internetworldstats.com/stats3.htm#asia

Internet World Stats. (2020).Asia Marketing Research, Internet Usage, Population Statistics, and Facebook Subscribers.Retrieved from https://www.internetworldstats.com/asia.htm#la

Jadhav, V., & Khanna, M. (2016). Factors Influencing Online Buying Behavior of College Students: A Qualitative Analysis.TheQualitative Report.21(1), 1-15.

Jukariya, T., &Singhvi, R. (2018). A Study of Factors Affecting Online Buying Behavior of Students.International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 7(1), 2558-2565.

Kanchan, P.K. (2017). Online Shopping Behavior among Students with Special Reference to Ludhiana, Punjab, India. Journal of Marketing and Consumer Research.33(1), 19-24.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012).Marketing Management. (14th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Lackermair, G., Kailer, D., &Kanmaz, K. (2013). Importance of Online Product Reviews from a Consumer's Perspective. Advances in Economics and Business.1(1), 1-5.

Nagra, G., & Gopal, R. (2013).A study of Factors Affecting on Online Shopping Behavior of Consumers. International Journal of Scientific and Research Publications. 3(6), 1-4.

World Health Organization. (2019). Adolescent health and development.Retrievedfrom http://www.searo.who.int/entity/child_adolescent/topics/adolescent_health/en/

Xinhua. (2018). Laos plans to develop e-commerce.Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2018-03/09/c_137027016.htm