การเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการวางแผนคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน บ้านดงมัน ตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ปิญาภรณ์ พงศ์ศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการวางแผนคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน บ้านดงมัน ตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดงมัน จำนวน 52 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติ One-way ANOVA


            ผลการศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน พบว่า 1) มีระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.23, SD=0.69) 2) มีระดับการเรียนรู้เทคนิควิธีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการวางแผนคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{X}=4.22, SD=0.69) 3) มีระดับความสามารถในการวางแผนและสร้างคอนเทนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{X}=4.27, SD=0.66) และ 4)ผลการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน มีระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน พบว่า 4.1 ผลการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่มีเพศและอายุต่างกัน มีระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 4.2 ผลการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีระดับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจและการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการสื่อสารผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนโดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐศักดิ์วรวิทยานนท์. (2556).ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ บธ.ม.).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ม.ป.ป.

ธัญญพัสส์เกตุประดิษฐ์. (2554).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญวรรณ เยาวสังข์. (2554). พฤติกรรมการใช้และปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Facebook ในด้านปัจจัยทางการตลาด ในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี.บทความวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพฯ.วารสารประชาสัมพันธ์และการโฆษณา.ม.ป.ป.,118-135.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณเสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ต. (2561).สถิติของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต.สืบค้น จากhttps://sites.google.com/ site/newbusinessws/calendar.

สุภาพรชุ่มสกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา.ปริญญาโทมหาวิทยาลัยศิลปากร. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.ม.ป.ป.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปีสำนักสถิติแห่งชาติ.สืบค้น จากhttp://www.nso.go.th/sites.

Detareportal. (2019). สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต. สืบค้นจากhttps://datareportal.com/reports/digital-2019-global-digital-overview.

Internetworld stats. (2019).สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2562. สืบค้นจาก https://www.internetworldstats.com/G20.htm”.

Lahey. (2001). How the way we talk can change the way we work Seven languages for transformation. San Francisco, CA, US: Jossey-Bass.

Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.

Sugaya, Y. (2006). Long Tail Marketing.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Thailand Zocial Awards 2020. (2563). สถิติผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแฟนเพจ.สืบค้น จาก https://www.marketingoops.com/campaigns/award/thailand-zocial-awards-2020-2.

Waranya Phopraithong. (2013). Factors affecting thedecision to buy clothing from online stores.BusinessAdministration. Thammasat University.