การปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดสงขลา ภายใต้สถานการณ์ราคายางพาราผกผัน

Main Article Content

อัศวเทพ ศุภเจริญกูล
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์
เกษตรชัย และหีม
บัญชา สมบูรณ์สุข

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายใต้ราคายางผกผัน ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม           การสนทนากลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ให้ข้อมูลผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 30 ครัวเรือน ผู้ให้ข้อมูลรอง ได้แก่ เกษตรกรที่รับจ้างทำสวนยางพาราที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสวนยาง ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 10 คนจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า


การปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายใต้สถานการณ์ราคายางผกผัน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการตลาดของเกษตรกร จากเหมืองแร่สู่ยางพารา จากการผลิตยางแผ่นดิบมาเป็นน้ำยางสด การใช้สหกรณ์กองทุนสวนยางเป็นยุทธวิธีการดำรงชีพ และการสร้างความหลากหลายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำรงชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Patthera Ruenpitak. (2011). Prepare the rubber industry Supports the ASEAN Economic Community. from http://www.oie.go.th

Aree Junkaew. (2010). Livelihoods of rubber unsmoked sheet producing households and rubber latex producing households: a case study of Namorbun Sub-district, Chulaporn District, Nakhon Si Thammarat Province. (Thesis Master of Science in Agricultura). Prince of Songkla University.

Rubber Authority of Thailand. (2018). Rubber Sheet GMP standards enhance the quality of Thai rubber. [Online]. Retrieved February 10, 2018 from http://www.raot.co.th/ main.php?filename=index.

Supawadee Khunthongjan. (2016). Influential Factors for Income and Spending Pattern of Household Rice Farmers as for Living and ProductionProcess in the Period of Economic Change. Chulalongkorn Business Review, 38(148), 41-63.

Pinkaew Laungaramsri. (2011). Livelihoods. Chiang Mai : Phongsawat Printing.

Buncha Somboonsuk, Kanokporn Pacheerat and Benedicte Chambon. (2010). Comparison of living conditions of rubber farmers. Between households producing raw rubber sheets and households producing latex. A Case Study in Na Mor Boon, Chulaporn, Nakhon Sri Thammarat. Faculty of Natural Resources Prince of Songkla University.

Sawarin Bendem-Ahlee and Utai Parinyasutinun. (2012). Human way of life and the way of life of people Along Na Thap Canal, Na Thapsub District, Chana, Songkhla Provice. Srinakharinwirot Research and Development (Humanities and Social Sciences), 4 (8), 129-139.

Sopon Mulha, Thongkait Satun, Monchai huworakij, Peecha Tabsombut and Thanunchai Chalermsuk. (2015). Strategies used by Residents of Agricultural Households in Bankhamphai, Muang District, Kalasin Province to Maintain Their Livelehoods. Prae-wa Kalasin of Kalasin University, 2(1),80-111.

Asawatep Suphajaroenkool and Utai Parinyasutinun. (2015). Management of Cooperative in Hat Yai Distict, Songkhla Provice. Humanities and Social Sciences Mahasakham University, 33(5), 170-179.

Choochart Tanangsnakool and Wandee Sutthinarakorn. (2016). Solutions to A Career Stability of Rubber Plantation’s. Farmers.Kasetsart Educational Review, 31(1),57-62.

Chairat Pranee. (2014). Community Culture and Bringing about Reconciliation in Thai Society Using Culture as Key Instruments. Community development and life quality, 2(2), 115-123.

Awae Masae, Buncha Somboonsuk and Malee Sabaiying. (2007). Modern processes and adaptation to living in rural communities. Presentation documents at the academic conference 29-30 July 2007. Faculty of Natural Resources Prince of Songkla University.

Utai Parinyasutinun. (2016). Community Development: Reviewed Issues in Changing Society. Social Development, 18(1), 123-14.