แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาบ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 25 คน โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะละลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทการจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มีการรวมกลุ่มของสมาชิก มีกฎระเบียบ เพื่อบริหารจัดการการเงิน การผลิต การจำหน่ายและการจัดการทั่วไป มีกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าไหม ผลผลิตทางการเกษตร กระเช้าเถาวัลย์ สมูทตี้ผลไม้ เป็นต้น กลุ่มมีขีดความสามารถในการตลาดสูง เพราะสามารถจัดหาตลาดได้ มีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง มีโอกาสไปจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าในเทศกาลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกสถานที่ ปัจจุบันกลุ่มมีผลงานและได้รับรางวัลหลายประเภท และมีชื่อเสียงด้านงานหัตถกรรม
2. แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีการสร้างเครือข่าย เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เน้นงานฝีมือที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์ การพัฒนาทักษะฝีมือแก่สมาชิก การสื่อสารด้านการตลาดในการจำหน่ายสินค้าบนธุรกิจโลกออนไลน์ การพัฒนาระบบการเงิน ที่โปร่งใส ยุติธรรมเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ และแนวทางระดับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้แก่การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งการผลิต การจำหน่ายให้สูงมากขึ้นการพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจเช่นด้านเทคโนโลยีการตลาดการเงินการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การส่งเสริมศักยภาพความพร้อมของกลุ่มผู้ประกอบการโอทอป การสร้างเครือข่าย การส่งเสริมการผลิตและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทุกภาคส่วน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวและเสริมสร้างคุณค่าสินค้าโดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าสะท้อนถึงความความทันสมัยและมีคุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Soawaluck Kongkachuichay et al. (2013). Alternative :Making handbag from kamar band for OTOP . Research report .Bankok : Rajamangala Universityof Technology Phranakon.
Phawadee Thakairat and Jittimapalasak. (2016). The Way of Strengthening The Management of OTOP Production Group : Case Study, Souvenir Producer Group from Pohkrasang Village, Pohkrasang Sub-District, Khunhan District, Sisaket Province. . Research report :Sisaket. Sisaket RajabhatUniversity.
Parichat Kunpluem. (2017). A Development of Knoeledge Management Process For Local Wisdom: A Case Study of Eastern OTOP Groups.in. Journal of Politics, Administration and Law, 9 [3]. September-December,2017.
Phathamon Boonyarasai.(2017). Key Success Factors of Thai OTOP. Business Administration. Thesis . School of Management, Chiangmai. Mae FahLuang University.
Tantiga Samsan.(2009).Onetumbon One Product (OTOP) Village Model For Tourism: acase study of Donluang Village Maerang Municipality Pasang DistrictLamphun Province. Thesis. Department of Public Administration, Faculty of Humanities and Social Sciences, KhonKaen : KhonKaen University.
Nathayoo Teebchan. (2014). The Linking To The One Tambon One Product For Tourism at Dan Kwain Nakhon Ratchasima Province. reserch report of of Education Program in Development Education Department of Education Foundations Graduate School. Bangkok. Silpakorn University.
Sujitra Jongpho. (2007). Business operations of producer groups of One Tambon One Product in Ubon Ratchathani. Business operations of producer groups One Tambon One Product in UbonRatchathani. Thesis Master of Arts Social Sciences For development. UbonRatchathani : UbonRatchathani Rajabhat University
Sumalee Santipolwoot and Sommai Udomwithit. (2011).Development guidelines for OTOP in the area Central Region. In Area Based Development Research Journal, 1[1],Bangkok : The Thailand Research Fund [TRF].
NuttayaIam-Khongand Danucha Saleewong. (2016).Current Demand and Expectations of OTOP Production and Distribution on Electronic Market. In RMUTT Global Business and Economics Review, (1)11. Faculty of Business Administration.Pathumthani : Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
KritsanaDararuang. (2016). Development of Product and Market Strategy for Ban Kao Lame Community Enterprise, Nakhonsawan Province. In Modern management Journal,14(2). School of management Science. Nonthaburi. Sukhothai Thammathirat Open University.
Wannap humputtaphum. (2015). OTOP TO AEC. In.Western University Research Journal of Humanities and Social Science.1 Pathumthani: Western University.