กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรม และการค้าในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุลิสัก วิละบุด
ณรงค์ฤทธิ์ โสภา
แดนวิชัย สายรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2. เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3. เพื่อทดลองใช้และประเมินผลกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เฉพาะที่เป็นผู้จดทะเบียนวิสาหกิจในแขวงจำปาสัก จำนวน 12,239 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 388 คน การทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการ ใช้   การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) และสหสัมพันธ์เพียร์สัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนตามชั้นภูมิ และการสุ่มแบบง่าย   การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มทดลอง คือ เจ้าหน้าที่ของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 8 คน ประเมินโดย ผู้จดทะเบียนวิสาหกิจในแขวงจำปาสัก จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซ้ำ (MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า


การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่พยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการประสิทธิผลการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจ (Y) ทั้ง 5


ปัจจัย มีปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจ จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.12 บุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.07 ความรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.03 ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนแรงจูงใจ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ -0.02 และความพึงพอใจ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ - 0.04 ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยสามารถอธิบายการผันแปรในตัวแปรตามได้ร้อยละ 70 ( gif.latex?R^{2}= 0.70)


            การวิจัยระยะที่ 2 ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก โดยการนำผลการวิจัยในระยะที่ 1 มายกร่างรูปแบบเบื้องต้น และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้รูปแบบเป็นหลักสูตรการฝึกอบรม ลักษณะกิจกรรมในการพัฒนา 9 กิจกรรม ประกอบด้วย 1)การประเมินการให้บริการ 2)การวัดการให้บริการ 3)การวิเคราะห์งาน 4)การทำงานร่วมกัน 5)การสืบเสาะแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 6)การแสดงบทบาทสมมติ 7)ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเบื้องต้น 8)ความคาดหวังที่ผู้รับบริการต้องการจากเรา และ 9)การเรียนรู้การพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ แล้วนำไปทดลองใช้ในระยะที่ 3


            การวิจัยระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้และการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสัก โดยประเมินจากปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากร ความรู้ การสร้างแรงจูงใจ และความพึงพอใจ ในกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์การพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในกลุ่มทดลองหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง จึงสรุปได้ว่าหลังการใช้กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการด้านงานทะเบียนวิสาหกิจของแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในแขวงจำปาสักขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Yangyud Jantaboo. (2013). The relationship between lifestyle and recognition in utility of product and thai vermicelli consumption behavior of consumers in the the Lao people’s democratic. Bangkok : Bangkok University.

Ministry of Plans and Investments, Laos PDR. (2010). 7th national economic and social development plan (2011-2015). Retrieved 11 December 2017 from http://www.indochinapublishing.com/research/pdf/draftlaoeconomicplan.pdf.

Kasikorn Research Center. (2011). Food and beverage industry. Retrieved 11 September 2016 from https://www.kasikornresearch.com.

Taro. Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York : Harper and Row.

Phetsaree Keawchotirung. (2008). Factors relating to satisfaction levels of people using computer registration services of Meung Yala district, Yala province. Songkla, Thailand: Songkla Rajabhat University.

Sinpanan Lumkul. (2007). A developing model for personnel development of 3 rd developing division. Phisanulok, Thailand : Pibulsongkram Rajabhat University.

Nannapat Pongpokinsatid. (2009). The administration approaches of entrepreneurs in rural community enterprises in Meung Lampang district, Lampang province. Bangkok : Phranakhon Rajabhat University.

Atitaya Sanewong. (2012). Factors affecting motivation practical and management personnel in the Faculty of information Technology and Communication, The University of the Thai Chamber of Commerce. Bangkok: The University of the Thai Chamber of Commerce.

Wanwimon Jongruaysakul. (2008). Satisfaction levels on services of registration and evaluation department. Nonthaburi : Rajapruk University.